ความจำเป็นในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเป็นกิจกรรมหนึ่งในยุทธศาสตร์ การพัฒนางานสู่การปฏิรูปการศึกษา โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนมีความประพฤติดี มีความรู้อยู่ในสังคม ได้อย่างมีความสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำอย่างไรจึงจะทำให้เยาวชนของชาติที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นรู้จักเลือก รับสิ่งที่ดี ๆ เหมาะสมกับวัฒนธรรมไทย ดังนั้นการศึกษาภาครัฐจึงได้กำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดทั่วประเทศ จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา เพื่อให้ครูดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างใกล้ชิด มีกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีความชัดเจน วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ คือ 1. เพื่อศึกษาความต้องและพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำเค็มฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา 2. เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำเค็มฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 199 คน ใช้การสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 8 คน คณะครูโรงเรียนบ้านน้ำเค็มฯ จำนวน 14 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 84 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 84 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 199 คน ระยะเวลาในการประเมินคือ ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การหาค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย ( x̄) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าอํานาจจําแนกระหวาง 0.520.95 และมีค่าความเชื่อมั่น 0.99
ผลการวิจัยพบว่า
1. เพื่อศึกษาความต้องและพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิภาพในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำเค็มฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ดังนี้
1.1 ปัจจัยที่ส่งผลต่อระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄ = 4.49,
S.D. = 0.66) ประกอบด้วย ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ( x̄ = 4.46, S.D. = 0.68) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของบุคลากร( x̄ = 4.53, S.D. = 0.65) การทำงานเป็นทีม( x̄ = 4.48, S.D. = 0.66) และความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ( x̄ = 4.48, S.D. = 0.66)
1.2 ขอบข่ายระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄ = 4.39, S.D. = 0.68)
ประกอบด้วย การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ( x̄ = 4.40, S.D. = 0.69) การคัดกรองนักเรียน ( x̄ = 4.37, S.D. = 0.66) การส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ( x̄ = 4.41, S.D. = 0.68) การป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ( x̄= 4.38, S.D. = 0.70) และการส่งต่อ ( x̄ = 4.37, S.D. = 0.69)
1.3 กระบวนการทำงานของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄ = 4.42,S.D. = 0.63) ประกอบด้วย วงจรคุณภาพ PDCA ได้แก่ 1) การวางแผน ( x̄ = 4.44, S.D. = 0.70) (P) 2) การดำเนินการตามแผน (D) ( x̄ = 4.39, S.D. = 0.69) 3) การตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล (C) ( x̄= 4.47, S.D. = 0.67) และ 4) การปรับปรุงแก้ไขและการพัฒนา (A) ( x̄ = 4.38, S.D. = 0.68) การประสานงาน ( x̄ = 4.44, S.D. = 0.67) และการมีส่วนร่วม ( x̄ = 4.40, S.D. = 0.67)
1.4 ประสิทธิผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีค่าเฉลี่ยรวม( x̄ = 4.43,S.D. = 0.68)
ประกอบด้วย นักเรียนเป็นคนดี( x̄= 4.48, S.D. = 0.70) นักเรียนเป็นคนเก่ง ( x̄ =4.39,S.D. = 0.70)
และนักเรียนมีความสุข( x̄= 4.40,S.D. = 0.71)
2. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาและความเป็นไปได้ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำเค็มฯ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา มีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้โดยรวมในระดับมาก
โดยสรุป การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีประสิทธิผลในสถานศึกษาโรงเรียน
บ้านน้ำเค็ม ฯ สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา คือ ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของบุคลากร การทำงานเป็นทีม ความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และประสิทธิผลระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ นักเรียนเป็นคนดี นักเรียนเป็นคนเก่ง และนักเรียนมีความสุข ทำให้ผู้รายงาน และครูประจำชั้น มีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น