รายงานการประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสภาพบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิตของการดำเนินโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านพรุดินนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ CIPP Model กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 335 คน ใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถามประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านพรุดินนา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและรายด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุด เรียงลำดับดังนี้ ด้านผลผลิต ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านบริบท
2. การประเมินโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านพรุดินนา ด้านบริบทของโครงการ โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาได้ชี้แจงรายละเอียดของโครงการและนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ((X ) ̅= 4.86) ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ((X ) ̅= 4.83) คือ วัตถุประสงค์ของโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษามีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดเป็น ((X ) ̅= 4.23) คือ ผู้ปกครอง และชุมชนสามารถช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนในการดำเนินงานตามโครงการ
3. การประเมินโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านพรุดินนา ด้านปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงสุด ((X ) ̅= 4.83) จำนวน 3 ข้อเท่ากัน คือ วัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการดำเนินโครงการโรงเรียนจัดหาอย่างเพียงพอ กับความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับกิจกรรมปลูกผักสวนครัว และโรงเรียนมีการประสานความร่วมมือกับชุมชน และหน่วยงานอื่น เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดเป็น ((X ) ̅= 4.40) คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการมีความเหมาะสม เพียงพอ
4. การประเมินโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา การศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านพรุดินนา ด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า ผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( (X ) ̅ = 4.91) รองลงมาค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( (X ) ̅ = 4.86) คือ กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด( (X ) ̅ = 4.43) คือ การกำหนดวัน เวลา และสถานที่ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการมีความชัดเจน
5. การประเมินโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา การศึกษา โรงเรียนบ้านพรุดินนา ด้านผลผลิตในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมมีอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในแต่ละรายข้อพบว่า พบว่า ครูมีความรู้ ความเข้าใจในการให้ความรู้ และการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( (X ) ̅ = 4.91) รองลงมาค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ( (X ) ̅ = 4.90) การจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( (X ) ̅ = 4.43) คือ ผลการดำเนินกิจกรรมทั้งหมดในภาพรวม ทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในครอบครัวของตนเองได้
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากผลการประเมิน พบว่า การประเมินโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา โรงเรียนบ้านพรุดินนา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด สามารถนำผลการประเมินไปปรับใช้และสรุปเป็นข้อเสนอแนะได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะสำหรับนำผลการประเมินไปใช้ มีดังนี้คือ
1. ข้อเสนอแนะจากการประเมินโครงการในครั้งนี้
1. หากประเมินโครงการในครั้งต่อไปควรเพิ่มกลุ่มตัวอย่างในการประเมินให้มากขึ้น เช่น
ผู้ปัญญาท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำเกษตรกร เป็นต้น
2. โรงเรียนจัดตั้งศูนย์บริการในโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งบริการให้ความรู้ด้านแนวคิดตามหลัก
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแก่นักเรียนและประชาชนในชุมชน
3. ควรส่งเสริมให้มีการบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานทุกครั้งอย่างสม่ำเสมอ
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
ควรนำแบบอย่างในการประเมินโครงการต้นแบบศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงด้านการศึกษา ของโรงเรียนบ้านพรุดินนา เป็นแนวทางในการประเมินโครงการอื่นๆ ของสถานศึกษา
ควรนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้บูรณาการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
กลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างแท้จริง และเป็นรูปธรรม โดยสามารถประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ของโรงเรียน เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและนักเรียนอย่างยั่งยืน