บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านอ่าวลึกเหนือ ปีการศึกษา 2564 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามรูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ใน 4 ด้าน คือ บริบทของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการ กระบวนการดำเนินโครงการ และผลผลิตของโครงการ ประชากรมีจำนวนทั้งสิ้น 262 คน ประกอบด้วย ครู จำนวน 16 คน นักเรียน จำนวน 297 คน และผู้ปกครอง จำนวน 297 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินมีจำนวนทั้งสิ้น 232 คน ประกอบด้วย ครูจำนวน 16 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 151 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 65 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ ระหว่างดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ โดยใช้เครื่องมือในการประเมิน ประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ และแบบบันทึก จำนวน 2 ฉบับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป มีผลการประเมิน และข้อเสนอแนะ ดังนี้
ผลการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านอ่าวลึกเหนือ ปีการศึกษา 2564 พบว่า ในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัดส่วนผลของการประเมินในภาพรวมของแต่ละด้าน และรายตัวชี้วัด มีดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายตัวชี้วัดมีผลการประเมินดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นของการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
1.2 ความสอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
1.3 ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับรายตัวชี้วัด มีผลการประเมิน ดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2.2 ความรู้ความเข้าใจของครูในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
2.3 ความเพียงพอของเอกสาร เครื่องมือในการดำเนินโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และในส่วนของรายตัวชี้วัด มีผลการประเมิน ดังนี้
3.1 การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
3.2 ความสามารถของครูในการดำเนินงานโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3.3 การนิเทศ กำกับ ติดตาม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรายตัวชี้วัดมีผลการประเมิน ดังนี้
4.1 จำนวนนักเรียนที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
4.3 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.4 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนชุมชนบ้านอ่าวลึกเหนือ ในครั้งนี้ พบว่า 1) ข้อเสนอแนะของครู ได้แก่ ควรจัดอบรมให้ความรู้กับครูเกี่ยวกับงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานให้คำปรึกษา มีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และสนับสนุนเอกสาร เครื่องมือในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มากขึ้น 2) ข้อเสนอแนะของนักเรียน ได้แก่ ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายและให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมมากขึ้น และ 3) ข้อเสนอแนะของผู้ปกครองได้แก่ ควรให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มากขึ้น การจัดกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของผู้ปกครองควรแจ้งประชาสัมพันธ์และเตรียมการล่วงหน้าให้มากกว่านี้ และควรดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาขาดแคลนให้ทั่วถึงเพิ่มขึ้น