บทสรุปผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนวัดมุจลินทาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของ ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิตของโครงการโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน โรงเรียนวัดมุจลินทาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 18 คน ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 1 คน ผู้ปกครอง จำนวน 130 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 67 คน และ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 63 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ ผู้ประเมินได้ใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งต้องอาศัยทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจ ผู้ประเมินจึงทำการเลือก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 รวมทั้งสิ้น 292 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินมีด้วยกัน 4 ฉบับ ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับบริบทของโครงการ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าของโครงการ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการของโครงการ 4) แบบสอบถามเกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล จำแนกตามลักษณะของข้อมูล คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ 2) การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1 ข้อมูลจากการประเมินรายงานโครงการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนข้อคำถามของแบบสอบถามใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 3) สถิติหาคุณภาพเครื่องมือ ใช้ IOC หาความสอดคล้องการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ และใช้ วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha Coefficient) ของครอนบาค (Cronbach) เพื่อหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามทั้งฉบับ ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้ประเมินใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปช่วยในการประมวลผล
สรุปผลการประเมิน
จากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ว่า โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทาราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1 มีผลการประเมินตามประเด็นการประเมินหลัก และประเด็นการประเมินย่อยทุกประเด็นผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนด ซึ่งสามารถจำแนกรายละเอียดผลการประเมินตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้ ดังนี้
1. ด้านบริบท พบว่า ผลการประเมินบริบทโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทารามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ในภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ข้อ 6 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน รองลงมาได้แก่ ข้อ 4 วัตถุประสงค์ของโครงการ สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ได้แก่ ข้อ 5 วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการ ของโรงเรียน
2. ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผลของการประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทารามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ในภาพรวม ผ่านเกณฑ์ อยู่ในระดับมาก กิจกรรมที่มีผลการประเมินสูงที่สุด ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนปลอดภัยใส่ใจเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก รองลงมา คือ กิจกรรมห้องสมุด ผ่านเกณฑ์ ในระดับมาก และกิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 มีผลการประเมินน้อยที่สุด ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการ เมื่อพิจารณาในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก กิจกรรมที่มีผลการประเมินสูงที่สุด ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนปลอดภัยใส่ใจเรียนรู้ รองลงมา คือ กิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก และกิจกรรมห้องสมุดออนไลน์ ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิต มีการประเมิน 2 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย 1) ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทาราม และ 2) ด้านความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทารามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ของผู้บริหาร ครู ลูกจ้างชั่วคราว คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองและเมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน สรุปผลได้ดังนี้
4.1 การประเมินผลผลิตด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทาราม พบว่า พบว่าร้อยละของผลการเรียนเฉลี่ยทุกรายวิชาของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทารามผ่านเกณฑ์ที่ทางโรงเรียนกำหนด เมื่อพิจารณาเป็นรายสาระการเรียนรู้ พบว่า สาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละสูงสุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา รองลงมาได้แก่ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ส่วนสาระการเรียนรู้ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละต่ำที่สุด ได้แก่ สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
4.2 การประเมินผลผลิตความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทารามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 พบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทารามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ของผู้บริหาร ครู ลูกจ้างชั่วคราว คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด กิจกรรมที่มีผลการประเมินสูงที่สุด ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือกิจกรรมห้องสมุดออนไลน์ ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด และลำดับสุดท้าย ได้แก่กิจกรรมโรงเรียนปลอดภัยใส่ใจเรียนรู้ ผ่านเกณฑ์ในระดับมาก ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
จากผลการประเมินพบว่า โครงการพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดมุจลินทารามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1 ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ตั้งแต่ด้าน บริบท ปัจจัย กระบวนการ และผลผลิต ซึ่งถือได้ว่าการดำเนินโครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ดังนั้นจึงควรดำเนินการต่อไปนี้
1.1 ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จของโครงการ และผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกสถานศึกษาให้รับทราบอย่างเป็นทางการ ด้วยช่องทางต่างๆ เช่น การประชุมผู้ปกครองนักเรียน เป็นต้น เพื่อสร้างความภาคภูมิใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกๆด้าน และเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เกี่ยวข้องอื่นเกิดความสนใจและเห็นความสำคัญ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียนด้านต่างๆ ในอนาคต
1.2 ควรมีการดำเนินการโครงการสืบเนื่องต่อไปในลักษณะเดียวกัน หรืออาจเป็นการดำเนินการโครงการต่อเนื่องจากโครงการเดิมแต่เพิ่มความเข้มข้นและดำเนินการต่อเนื่องมากขึ้น เช่น การระดมสรรพกำลังเพื่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านอื่นๆ เป็นต้น
1.3 ปัจจัยส่วนสำคัญที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และผู้เกี่ยวข้องเกิดความพึงพอใจ คือ ผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบโครงการ มีความรู้ ความสามารถ ในการดำเนินโครงการ ซึ่งจะต้องใช้ทักษะความรู้ความสามารถที่มีอยู่เข้ามามีส่วนในการดำเนินงานตามโครงการทั้งหมด ดังนั้น จึงเห็นว่าควรให้อิสระในการคิด และการตัดสินใจในการปฏิบัติงานมากขึ้น บนพื้นฐานความพร้อมของบุคลากรทั้งด้านความรู้ ความสามารถ ความเต็มใจ
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการประเมินโครงการที่สำคัญของโรงเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่มีลักษณะแนวนโยบายที่บุคลากรทำร่วมกัน เพื่อให้เกิดการพัฒนางานได้ตั้งแต่ก่อนมีโครงการ การเตรียมการและการวางแผนการดำเนินโครงการ ช่วงระหว่างดำเนินโครงการและเมื่อสิ้นสุดโครงการได้เป็นอย่างดี
2.2 ควรศึกษาสภาพปัญหา สภาพการปฏิบัติงานและปัญหาการปฏิบัติงาน โดยใช้กระบวนการวิจัยที่แตกต่างกันออกไป เช่น วิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับความเป็นจริงหลายๆด้าน