การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา
โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 จังหวัดนราธิวาส
ดร.นูซี มะเด็ง*
Dr. Nusee Madeng
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 จังหวัดนราธิวาส ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา 2) การสร้างและประเมินรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา และ 4) ศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายขยายผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research: MMR) ดำเนินการวิจัยเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และความคาดหวังการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา ระยะที่ 2 การสร้างและประเมินรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา ระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา และระยะที่ 4 การศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายขยายผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา ประชากรประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองและนักเรียนทั้งหมด จำนวน 1,304 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสำรวจ แนวทางการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความคาดหวังการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนาพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน ((x̄)=3.34, S.D.= 0.65) และ 2) ความคาดหวังการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา ประกอบด้วย 7 ด้าน คือ 1) ด้านแผนพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน 2) ด้านระบบนิเวศการเรียนรู้ 3) ด้านการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ 4) ด้านการประเมินสะท้อนผลพัฒนา 5) ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้และพัฒนา 6) ด้านความปลอดภัยและคุ้มครองสิทธิพื้นฐาน และ 7) ด้านการบริหารจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข อยู่ในระดับมากที่สุด ((x̄)= 4.69, S.D.= 0.51)
2. ผลการสร้างและประเมินรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา พบว่า 1) รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา มีองค์ประกอบ 9 ส่วน ได้แก่ (1) ชื่อ (2) หลักการ (3) วัตถุประสงค์ (4) กระบวนการ (5) เงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำเร็จ (6) ผลผลิต (7) ผลลัพธ์ (8) ผลกระทบ และ (9) ข้อมูลย้อนกลับ และ 2) ผลการประเมินด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ((x̄)= 4.65, S.D.= 0.27)
3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 และ ปีการศึกษา 2564 มีการปรับเพิ่มเงื่อนไขและปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor : KSF) และการสะท้อนผลการพัฒนาในข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) ด้วยเทคนิค AAR ในปีการศึกษา 2564 พบว่า
3.1 ผลผลิต (Outputs)
1) ผลการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน ด้านจงรักภักดี มีคุณธรรม น้อมนำแนวพระราชดำริ พัฒนาสัมมาชีพ และมีทักษะชีวิต ตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2560-2564) ปีการศึกษา 2563 นักเรียนผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจ (ระดับดี-ดีมาก) ภาพรวมอยู่ในระดับดี - ดีมาก ร้อยละ 85.00 และปีการศึกษา 2564 นักเรียนผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจ (ระดับดี-ดีมาก) ภาพรวมอยู่ในระดับดี ดีมาก ร้อยละ 90.04
2) ผลการประเมินคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม และปีการศึกษา 2564 มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยม มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
3.2 ผลลัพธ์ (Outcome)
ระดับความพึงพอใจการใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา พบว่า ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ((x̄)= 4.44, S.D.= 0.40) และ ปีการศึกษา 2564 ระดับความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄)= 4.60, S.D.= 0.62) โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้น จากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 0.16
3.3 ผลกระทบ (Impact) จากความสำเร็จการดำเนินงานรูปแบบการเสริมสร้าง อัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนาที่สอดคล้องทิศทางนโยบาย... OBEC New Normal ตอบโจทย์การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษจังหวัดชายแดนใต้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ใต้ร่มเย็น และวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา สร้างความภาคภูมิใจ สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับด้านการมีส่วนร่วมภาคีพัฒนา การศึกษาในลักษณะ... หุ้นส่วนการศึกษา (Educational Partnership) เป็นต้นแบบเชิงนวัตกรรม และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้รูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนาของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา สถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา และองค์กรวิชาชีพทางการศึกษา
4. ผลการศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบายขยายผลรูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา
4.1 ผลจากการประชุมระดมความคิด (Brain Storming) ด้วยเทคนิคการสะท้อนผลการพัฒนา (After Action Review : AAR) มีข้อเสนอการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา รองรับการน้อมนำพระราชปฎิธาน...ทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด หลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่...โคก หนอง นา และพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของล้นเกล้า รัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ โดย 1) จัดทำแผนพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนรายบุคคล (Individual Identity Development Plan : IIDP) 2) จัดฐานปฏิบัติการบ่มเพาะอาชีพและการจัดการ โดยบูรณาการฐานเรียนรู้อารยเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเสริมสร้างทักษะอาชีพแห่งอนาคตโดยใช้ศูนย์ฝึกวิชาชีพพระราชทานเป็นฐานการพัฒนา และ 3) ขยายกลุ่มเป้าหมายการบริการสาธารณะ (Public Services) โดยตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีนรา (NARA Community Learning Center) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอิงวิถีภูมิปัญญาท้องถิ่นบนฐานศาสตร์พระราชา
4.2 ผลการประเมินข้อเสนอการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้ระบบนิเวศการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาเป็นฐานการพัฒนา ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( (x̄)=4.66, S.D. = 0.24)
คำสำคัญ : รูปแบบ,ระบบนิเวศการเรียนรู้ , อัตลักษณ์ผู้เรียน , ศาสตร์พระราชา
*ดร.นูซี มะเด็ง Dr. Nusee Madeng
ผู้อำนวยการโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 39 จังหวัดนราธิวาส