บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : ผลการนิเทศแบบมีส่วนร่วมตามแนวกระบวนการโค้ชและฟา (10C Framework)
เพื่อพัฒนาครูในจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
สำหรับเด็กปฐมวัย
ชื่อผู้ศึกษา : นางพิราวรรณ ลีลาธรรมสัจจะ
ปีที่ศึกษา : 2563
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการนิเทศแบบมีส่วนร่วมตามแนวกระบวนการโค้ชและฟา (10C Framework) เพื่อพัฒนาครูปฐมวัยในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ระหว่างการนิเทศ เพื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังการนิเทศผลการนิเทศแบบมีส่วนร่วม ตามแนวกระบวนการโค้ชและฟา(10C Framework) เพื่อพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และเพื่อศึกษาผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2562 และ ปีการศึกษา 2563 ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ ประชากรที่ใช้ในการสุ่มกลุ่มตัวอย่างครั้งนี้เป็นประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูปฐมวัย ปฏิบัติหน้าที่การสอนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2562 และ2563 จำนวน 60 คน ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย คู่มือการนิเทศแบบมีส่วนร่วมตามแนวกระบวนการโค้ชและฟา (10 C Framework ) เพื่อพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 1 ฉบับ แผนการนิเทศแบบมีส่วนร่วมตามแนวกระบวนการโค้ชและฟา (10C Framework) เพื่อพัฒนาครูในการจัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 10 แผน คู่มือแบบสอบถามการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน 1 ฉบับ คู่มือแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการนิเทศเพื่อการนิเทศแบบมีส่วนร่วมตามแนวกระบวนการโค้ชและฟา (10C Framework) เพื่อพัฒนาครูปฐมวัยจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย จำนวน1 ฉบับ แนวทางการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560ปีการศึกษา 2562 - ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ฉบับ
ผู้ศึกษานิเทศให้กับครูปฐมวัยใช้ระยะเวลา 2 ปีการศึกษา ปีละ 2 ระยะ คือ ปีการศึกษา 2562 ภาคเรียนที่ 1 ระหว่างเดือน มิถุนายน - สิงหาคม 2562 ภาคเรียนที่ 2 ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - มกราคม 2563 และปีการศึกษา 2563 ระหว่างเดือน มิถุนายน - สิงหาคม 2563 ภาคเรียนที่ 2 ระหว่างเดือน พฤศจิกายน - มกราคม 2564 นิเทศเดือนละ 1 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วัน โรงเรียน ๆ ละ 60 นาที และมีการประเมินแบบสังเกตการณ์จัดประสบการณ์การเรียนรู้เป็นรายบุคคล จำนวน ปีละ 3 ครั้งต่อปีการศึกษา โดยใช้แบบแบบสอบถามการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ระหว่างการนิเทศ และก่อนและหลังการนิเทศใช้แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการนิเทศเพื่อการนิเทศแบบมีส่วนร่วมตามแนวกระบวนการโค้ชและฟา (10C Framework) เพื่อพัฒนาครูปฐมวัยจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย และผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ปีการศึกษา 2562 - ปีการศึกษา 2563 การวิเคราะห์ข้อมูลจากการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าร้อยละ
สรุปผลการศึกษา พบว่า
1. ผลการนิเทศแบบมีส่วนร่วมตามแนวกระบวนการโค้ชและฟา (10C Framework)
เพื่อพัฒนาครูปฐมวัยในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับ
เด็กปฐมวัย โดยภาพรวม เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการปฏิบัติระหว่างการนิเทศแต่ละสัปดาห์
ผลปรากฏว่า ครูมีการปฏิบัติสูงขึ้นตามลำดับ กล่าวคือ สัปดาห์ที่ 1 ครูมีการปฏิบัติอยู่ในค่าเฉลี่ย 18.88 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.01 คิดเป็นค่าร้อยละ 75.53 สัปดาห์ที่ 2 ครูมีการปฏิบัติอยู่ในค่าเฉลี่ย 19.66 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.83 คิดเป็นค่าร้อยละ 78.66 สัปดาห์ที่ 3 ครูมีการปฏิบัติอยู่ในค่าเฉลี่ย 22.05 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.26 คิดเป็นค่าร้อยละ 88.20 สัปดาห์ที่ 4 ครูมีการปฏิบัติอยู่ในค่าเฉลี่ย 24.10 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.93 คิดเป็นค่าร้อยละ 96.40 สัปดาห์ที่ 5 ครูมีการปฏิบัติอยู่ในค่าเฉลี่ย 24.81 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.39 คิดเป็นค่าร้อยละ 99.26 สัปดาห์ที่ 6 ครูมีการปฏิบัติอยู่ในค่าเฉลี่ย 25.00 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00 คิดเป็นค่าร้อยละ 100.00 โดยภาพรวม ครูมีการปฏิบัติอยู่ในค่าเฉลี่ย 22.41 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.82 คิดเป็นค่าร้อยละ 89.68
ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลการเปรียบเทียบการนิเทศปรากฏว่า ครูได้รับความพึงพอใจจากการการ
นิเทศแบบมีส่วนร่วมตามแนวกระบวนการโค้ชและฟา(10C Framework) เพื่อพัฒนาครูปฐมวัยในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยสู่การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย มีการปฏิบัติหลังการนิเทศได้มีความพึงพอใจสูงกว่าก่อนการนิเทศ โดยความพึงพอใจก่อนการนิเทศ มีค่าเฉลี่ย 17.31 ค่าเบี่ยงมาตรฐาน 1.11 คิดเป็นร้อยละ 69.26 ความพึงพอใจหลังการนิเทศ มีค่าเฉลี่ย 24.90 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.30 คิดเป็นร้อยละ 99.90 มีค่าความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ 7.58 คิดเป็นร้อยละ 30.33 โดยภาพรวม คิดเป็นค่าร้อยละ 82.57 ซึ่งครูมีความพึงพอใจหลังการนิเทศสูงขึ้นเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการประเมินพัฒนาการนักเรียนที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560
ปีการศึกษา 2562 - ปีการศึกษา 2563 มีพัฒนาการหลังการประเมินพัฒนาการ ปีการศึกษา 2563คะแนนสูงกว่าก่อนประเมินพัฒนาการ ปีการศึกษา 2562 โดยมีพัฒนาการก่อนการประเมินพัฒนาการ มีค่าเฉลี่ย 80.77 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.74 คิดเป็นร้อยละ 95.65 หลังประเมินพัฒนาการ มีค่าเฉลี่ย 93.05 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.95 คิดเป็นร้อยละ 98.61 มีค่าความก้าวหน้าเฉลี่ยเท่ากับ 12.58 คิดเป็นร้อยละ 2.97 ซึ่งพัฒนาการนักเรียนหลังการนิเทศสูงขึ้น เป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้