การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน
ในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา โรงเรียนอนุบาลเลย จังหวัดเลย
Development of Learning Management Model for Enhancing Student Identity in the 21st Century based on Kings Science , Anubanloei School, Loei Province.
ณสรวง ก้อนวิมล*
Nasuang Konwimon
การวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา โรงเรียนอนุบาลเลย จังหวัดเลย ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา 2) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research : MMR) ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา ระยะที่ 2 การสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา และระยะที่ 3 การศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา ประชากรประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครองและนักเรียนทั้งหมด จำนวน 3,531 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ ประเด็นการสนทนากลุ่ม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน และความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา พบว่า
1.1 สภาพปัจจุบัน การบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน (x̄=3.35, S.D. = 0.62)
1.2 ความต้องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา ประกอบด้วย 1)อัตลักษณ์ผู้เรียน ได้แก่ มารยาทดี มีวินัย ใส่ใจจิตอาสา ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และพลเมืองดิจิทัล และ 2)กระบวนการพัฒนา 7 ด้าน คือ (1) ด้านการนำองค์กร (2) ด้านระบบนิเวศการเรียนรู้ (3) ด้านแผนการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน (4) ด้านการจัดการเรียนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (5) ด้านนวัตกรรมและจัดการความรู้ (6) ด้านความปลอดภัยและคุ้มครองสิทธิพื้นฐาน และ (7) ด้านธรรมาภิบาลการบริหารจัดการเรียนรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.76, S.D. = 0.54)
2. ผลการสร้างและประเมินรูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา พบว่า
2.1 รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา มีองค์ประกอบ 9 ส่วน ได้แก่ 1) ชื่อ 2) หลักการ 3) วัตถุประสงค์ 4) กระบวนการ 5) ผลผลิต 6) ผลลัพธ์ 7) ผลกระทบ 8) ข้อมูลย้อนกลับ และ 9) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
2.2 ผลการประเมินด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.66, S.D. = 0.30)
3. ผลการศึกษาการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา ปีการศึกษา 2563 และ ปีการศึกษา 2564จากข้อค้นพบและการสะท้อนผลการพัฒนการใช้รูปแบบในปีการศึกษา 2563 มีการปรับเพิ่มปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factor : KSF) พบว่า
3.1 ผลผลิต (Outputs)
1) ผลการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน... มารยาทดี มีวินัย ใส่ใจจิตอาสา ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และพลเมืองดิจิทัล ปีการศึกษา 2563 นักเรียนผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับดี - ดีมาก ร้อยละ 72.61 และปีการศึกษา 2564 นักเรียนผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับดี ดีมาก ร้อยละ 89.12
2) ผลการประเมินคุณภาพภายใน (SAR)
(1) ปีการศึกษา 2563 ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 95.40 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.00 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 95.00 คะแนน) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 95.13 คะแนน) มาตรฐาน ที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.00 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.00 คะแนน)
(2) ปีการศึกษา 2564 ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.43 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 98.17 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.00 คะแนน) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.50 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 98.69 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 98.50 คะแนน)
3.2 ผลลัพธ์ (Outcomes) ระดับความพึงพอใจการใช้รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 บนพื้นฐานศาสตร์พระราชา พบว่า ปีการศึกษา 2563 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.49, S.D. = 0.58) และ ปีการศึกษา 2564 ระดับความพึงพอใจ ภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄=4.55, S.D. = 0.62) โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้น จากปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 0.06
3.3 ผลกระทบ (Impacts) จากความสำเร็จการดำเนินงานเพื่อพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนแบบองค์รวมเชิงบูรณาการ ตอบสนองทิศทางนโยบาย... สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ และวิสัยทัศน์... เสมอภาคทางการศึกษา พัฒนาคุณธรรมนำความรู้ เชิดชูความเป็นไทย ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม เป็นศูนย์รวมแหล่งเรียนรู้ มุ่งสู่มาตรฐานสากลแผนพัฒนาการศึกษา ระยะ 4 ปี (พ.ศ.2563-2566) โดยได้รับรางวัล โรงเรียนวิถีพุทธพระราชทาน และรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในปีการศึกษา 2564 และตอบโจทย์การพัฒนาจังหวัดเลย ภายใต้ยุทธศาสตร์ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) สร้างความภาคภูมิใจ สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับด้านการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายพัฒนาการศึกษา ในลักษณะ... หุ้นส่วนพัฒนาการศึกษา (Education Development Partnership) เป็นต้นแบบเชิงนวัตกรรม และกรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา สถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา และองค์กรวิชาชีพทางการศึกษา
คำสำคัญ : รูปแบบ,อัตลักษณ์ผู้เรียน,ความสุข,ศาสตร์พระราชา
______________________________________
*ดร.ณสรวง ก้อนวิมล Dr.Nasuang Konwimon
ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเลย จังหวัดเลย