การประเมินแผนพัฒนาการศึกษา ระยะครึ่งแผน (ปีการศึกษา 2563-2564)
โรงเรียนอนุบาลเลย จังหวัดเลย
Assessment of The half-term educational development plan
(The academic year 2020-2021) Anubanloei School, loei Province.
ณสรวง ก้อนวิมล*
Nasuang Konwimon
การประเมินแผนพัฒนาการศึกษา ระยะครึ่งแผน (ปีการศึกษา 2563-2564) โรงเรียนอนุบาลเลย จังหวัดเลยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพก่อนและหลังการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษา 2) ประเมินผลระยะครึ่งแผนพัฒนาการศึกษา โดยใช้ CIPP Model และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา ด้วยเทคนิค AAR โดยแบ่งการประเมินเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพก่อนและหลังการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ 2 ประเมินผลระยะครึ่งแผนพัฒนาการศึกษา โดยใช้ CIPP Model และระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา ด้วยเทคนิค AAR จำนวนประชากรทั้งหมด 2,951 คน เก็บข้อมูลปฐมภูมิด้วยแบบประเมินและข้อมูลทุติยภูมิที่เกี่ยวข้อง กับแผนพัฒนาการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพก่อนและหลังดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษา
1.1 สภาพการบริหารจัดการเรียนรู้หลังดำเนินการช่วงครึ่งแผนพัฒนาการศึกษา (ปีการศึกษา 2563-2564) มีการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ปรับภูมิทัศน์ อยู่ในสภาพร่มรื่น เรียบร้อย สะอาดปลอดภัย และมีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงอนาคต โดยมีงานวิจัยสถาบันที่เป็นที่ยอมรับและต้นแบบประยุกต์ใช้ของสถานศึกษา ได้แก่ รูปแบบการบริหารจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างมีความสุขบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา และรางวัลวิถีพุทธพระราชทาน
1.2 การมีส่วนร่วมการบริหารจัดการเรียนรู้หลังดำเนินการช่วงครึ่งแผนพัฒนาการศึกษา (ปีการศึกษา 2563-2564) ที่เน้นการเปิดเวทีการมีส่วนร่วม การสื่อสารทิศทางการพัฒนา (Share Vision) และการเสริมสร้างพลังร่วมขับเคลื่อน (Empowerment) ส่งผลให้ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ชุมชนและภาคีเครือข่ายหุ้นส่วนพัฒนาการศึกษา (Education Development Partnership) ให้การยอมรับและเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งด้านการระดมทรัพยากร การพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ และการบริหารจัดการเรียนรู้
2. ผลการประเมินแผนพัฒนาการศึกษา
2.1 ผลการประเมินระยะครึ่งแผนพัฒนาการศึกษา โดยใช้ CIPP Model ประกอบด้วย 1) ด้านบริบท (Context) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ด้านผลผลิต (Product) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.63, S.D.= 0.22)
2.2 ผลการดำเนินงาน (Results) ตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะครึ่งแผนพัฒนาการศึกษา ปีการศึกษา 2563-2564
2.2.1 ผลผลิต (Output) พบว่า
1) ผลการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียน... มารยาทดี มีวินัย ใส่ใจจิตอาสา นักเรียนผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจ ภาพรวมระดับดี-ดีมาก ปีการศึกษา 2563 ร้อยละ 72.48 และปีการศึกษา 2564 ร้อยละ 88.93
2) คุณภาพการศึกษา จากรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (SAR) ดังนี้
(1) ปีการศึกษา 2563 ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 95.40 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.00 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 95.00 คะแนน) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 95.13 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.00 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.00 คะแนน)
(2) ปีการศึกษา 2564 ระดับปฐมวัย มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของเด็ก อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.43 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับ ยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 98.17 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.00 คะแนน) และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 97.50 คะแนน) มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 98.69 คะแนน) และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ อยู่ในระดับยอดเยี่ยม (คะแนนเฉลี่ย 98.50 คะแนน)
2.2.2 ผลลัพธ์ (Outcome) ระดับความพึงพอใจการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะครึ่งแผน (ปีการศึกษา 2563-2564) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.88, S.D. = 0.18)
2.2.3 ผลกระทบ (Impact) จากความสำเร็จการดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษา ระยะครึ่งแผน (ปีการศึกษา 2563-2564) สร้างความพึงพอใจ สถานศึกษาเป็นที่ยอมรับของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานภายนอก นักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน และ สถานศึกษาได้รับรางวัลโล่ประกาศเกียรติคุณ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วม การจัดระบบนิเวศการเรียนรู้ การระดมทรัพยากรการศึกษาและการบริหารจัดการเรียนรู้ในรูปหุ้นส่วนพัฒนาการศึกษา (Education Development Partnership) เป็นแหล่งเรียนรู้ และต้นแบบประยุกต์ใช้ของสถานศึกษา และหน่วยงานอื่น อาทิ ด้านการเสริมสร้างอัตลักษณ์ผู้เรียน ระบบช่วยเหลือดูแลนักเรียน และการประเมินผลแผนงาน/โครงการ
3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา
3.1 ผลจากการสนทนากลุ่มและการสะท้อนผลการพัฒนาด้วยเทคนิค AAR (After Action Review ) ของผู้เชี่ยวชาญ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู บุคลากร และผู้เกี่ยวข้อง มีข้อเสนอในการพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษาที่สนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษา สอดคล้อง ทิศทาง...สพฐ.:วิถีอนาคต วิถีคุณภาพ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียน โดย 1) เพิ่มอัตลักษณ์ความเป็น ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ และพลเมืองดิจิทัล และวิจัยกระบวนการพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนบนพื้นฐานศาสตร์พระราชา 2) เร่งยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) สร้างความมั่นคงและยั่งยืนเวทีการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ในลักษณะหุ้นส่วนพัฒนาการศึกษา (Education Development Partnership) และ 4) ปรับแผนพัฒนาการศึกษา (ฉบับทบทวนปีการศึกษา 2565 ) ด้วยการวางแผนกลยุทธ์เชิงอนาคต (The Future of Strategic Planning)
3.2 ผลการประเมินข้อเสนอการสะท้อนผลพัฒนาแผนพัฒนาการศึกษา (ฉบับทบทวนปีการศึกษา 2565) ด้านความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄= 4.83, S.D. = 0.21)
คำสำคัญ : การประเมิน ,แผนพัฒนาการศึกษา ,CIPP Model ,AAR
______________________________________
*ดร.ณสรวง ก้อนวิมล Dr.Nasuang Konwimon