ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563
ผู้รายงาน นางสาวนูรไอนี ดวงเกิด ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านราวปลา
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2563
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านราวปลา
ปีการศึกษา 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563 3) ประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563 และ
4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านราวปลา
ปีการศึกษา 2563 เกี่ยวกับ 4.1) คุณภาพของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 4.2) ความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน การประเมินใช้รูปแบบประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) มาใช้ประเมินโดยวิธีการใช้แบบสอบ
ถามที่ผู้รายงานสร้างขึ้น
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างผู้บริหารและครู จำนวน 8 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 33 คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถาม ที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ และมีข้อคำถามปลายเปิด จำนวน 5 ฉบับ ทุกฉบับผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยมีค่าความเชื่อมั่นทุกฉบับอยู่ระหว่าง 0.819 ถึง 0.844 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563 ตามความเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครูโดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ การประเมินในทุกรายการประเมิน เมื่อพิจารณารายกลุ่มผู้ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = .57) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครูมีค่าเฉลี่ย ( = 4.65, S.D. = .61) อยู่ในระดับมากที่สุด
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของครู โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = .64) และผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกรายการประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายประเด็น พบว่า ประเด็นความพร้อมของบุคลากร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.75, S.D. = .44) รองลงมาคือ ประเด็นด้านการบริหารจัดการ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = .48) ประเด็นด้านงบประมาณ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, S.D. = .68) ส่วนประเด็นวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ มีความเหมาะสมระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.03, S.D. = .65)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครู
โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกรายการประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.66, S.D. = .57) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ย ( = 4.58, S.D. = .66) อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน บ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563 ดังนี้
4.1 ด้านผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับคุณภาพของการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563 ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และครู โดยภาพรวมทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกรายการประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.64, S.D. = .59) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย ( = 4.63, S.D. = .63)
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านราวปลา ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มที่ประเมินมีความพึงพอใจ
อยู่ในระดับมากขึ้นไป และผ่านเกณฑ์การประเมินในทุกรายการประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายกลุ่มที่ประเมิน พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.65, S.D. = .53) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่กลุ่มครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( = 4.58, S.D. = .59)
กลุ่มนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ( = 4.55, S.D. = .57) ส่วนกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ( = 4.41, S.D. = .63) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
สรุปผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านราวปลา
ปีการศึกษา 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ผลการประเมินโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ และประเด็นการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ทุกรายการ โดยผู้เกี่ยวข้อง มีความเห็นว่าโครงการนี้ควรดำเนินการต่อไปและโครงการนี้ทำให้นักเรียนได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง เกิดประโยชน์กับนักเรียนอย่างแท้จริง