1. ชื่อผู้เสนอผลงาน นางสาวจันทร์ทิพย์ แก้วก่า. ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน อนุบาลพรรณานิคม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2
โทรศัพท์ 096-0573153
2. ความสำคัญของผลงาน
การสอนภาษาไทยในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประสบปัญหาหลายอย่างเพราะเป็นชั้นเริ่มแรกเป็นรากฐานสำคัญในการเรียน ผู้เรียนยังไม่มีประสบการณ์ในด้านการอ่านเขียน วุฒิภาวะยังเด็กเมื่อได้เริ่มฝึกทักษะการอ่านและ การเขียนจะรู้สึกว่ายุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งเป็นเรื่องยากสำหรับครูผู้สอนที่จะหาเทคนิควิธีให้ประสบผลสำเร็จ การอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ตั้งแต่เริ่มต้นในชั้นต่อไปก็จะเรียนกลุ่มสาระอื่นๆ ไม่เข้าใจ จึงควรได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษ การฝึกทักษะภาษาไทยต้องอาศัยองค์ประกอบหลายๆอย่าง เช่น การฝึกย้ำซ้ำทวน ฝึกบ่อยๆ จึงจะทำให้ผู้เรียนจำได้ ฟังเข้าใจ พูด อ่านและเขียนได้ถูกต้อง วิธีที่จะฝึกทักษะทางภาษาให้ได้ผลดีอีกวิธีหนึ่งคือได้ลงมือปฏิบัติจริงเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะเพิ่มขึ้น การสอนภาษาไทยที่ครูใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นการสอนแบบบรรยายนักเรียนอ่านตามครู เขียนตามครูยึดเนื้อหาในหนังสือเรียนเป็นหลัก ไม่มีสิ่งเร้าใจ ใช้เทคนิคเดิม ๆ ผู้เรียนเบื่อหน่ายไม่สนใจการเรียน ดังนั้น จากการศึกษาค้นคว้าผู้ศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ โดยมีครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก สร้างแรงบันดาลใจ ให้คำปรึกษา ดูแล แนะนำ จัดวิธีการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย สร้างองค์ความรู้ได้ มีความเข้าใจในตนเอง ใช้สติปัญญา คิด วิเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงาน มีสมรรถนะสำคัญ มีทักษะวิชาการ ทักษะชีวิต บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ตามระดับช่วงวัย การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยแบบฝึกทักษะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจในบทเรียนได้ดีขึ้นเพราะแบบฝึกทักษะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการสอนภาษา แบบฝึกทักษะจะทำให้เด็กเกิดความแม่นยำ คล่องแคล่วในแต่ละทักษะ สามารถใช้ภาษาสื่อความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความคิดและเหตุผล และยังสามารถเร้าความสนใจของนักเรียนได้เป็นอย่างดีและสร้างความสนุกสนานโดยไม่เกิดความเบื่อหน่ายในการฝึกซ้ำ ดังนั้นการสอนภาษาไทยให้นักเรียนมีทักษะในการฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาไทยได้อย่างคล่องแคล่ว รวดเร็วและถูกต้อง เครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ใช้ฝึกทักษะทางภาษา คือ แบบฝึก ดังที่กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า การสอนภาษาไทยให้สนุกต้องให้นักเรียนได้ทำแบบฝึกหัดให้มากที่สุด ในแบบฝึกหัดนั้นย่อมมีคำตอบที่ถูกและผิด เมื่อครูชี้แจงให้ทราบว่าข้อไหนถูกและข้อไหนผิดจะทำให้นักเรียนรู้สึกสนุกยิ่งขึ้น การใช้แบบฝึกเป็นสื่อการสอนที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาทำความเข้าใจ ฝึกฝนจนเกิดแนวคิดที่ถูกต้องและเกิดทักษะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง นอกจากนี้แบบฝึกหัดยังเป็นเครื่องช่วยบ่งชี้ให้ครูทราบว่าผู้เรียนหรือผู้ใช้แบบฝึกมีความรู้ความเข้าใจบทเรียนและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้มากน้อยเพียงใด แบบฝึกมีความสำคัญในการพัฒนาการเรียนการสอน และมีความสำคัญในการช่วยเหลือให้นักเรียนพัฒนาทักษะทางภาษา ซึ่งในการฝึกทักษะจำเป็นต้องอาศัยแบบฝึกทักษะในการฝึกฝน หรือฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติด้วยตนเองและช่วยให้ผู้เรียนสามารถเขียนได้ถูกต้องแม่นยำ สื่อความหมายได้และเกิดการเรียนรู้ได้ดี
จากหลักการและเหตุผลดังกล่าว ผู้ศึกษาจึงได้ดำเนินการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านทักษะการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้วยแบบฝึกทักษะพัฒนาการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทางด้านการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกดได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้นต่อไป
3. จุดประสงค์
1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียนเรียนรู้ตัวสะกดก่อนและหลังเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4. กระบวนการการจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning
4.1 ศึกษาเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา แนวคิดทฤษฏีการเรียนการสอน
4.2 ศึกษาปัญหาของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลที่พบในการจัดการเรียนการสอน
4.3 ศึกษาเทคนิคการสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
4.4 สร้างแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนสะกดคำ จำนวน 9 เล่ม ดังนี้
เล่มที่ 1 มาตราแม่ ก กา
เล่มที่ 2 มาตราตัวสะกดแม่กง
เล่มที่ 3 มาตราตัวสะกดแม่กม
เล่มที่ 4 มาตราตัวสะกดแม่กน
เล่มที่ 5 มาตราตัวสะกดแม่เกย
เล่มที่ 6 มาตราตัวสะกดแม่เกอว
เล่มที่ 7 มาตราตัวสะกดแม่กก
เล่มที่ 8 มาตราตัวสะกดแม่กด
เล่มที่ 9 มาตราตัวสะกดแม่กบ
4.5 สร้างแบบประเมินผลการอ่านก่อนเรียน - หลังเรียน 4.6 ประเมินผลการอ่านก่อนใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4.7 ดำเนินการจัดกิจกรรมประจำวันระหว่างวันที่ 3-20 มิภุนายน 2565 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4.8 ประเมินผลการอ่านหลังใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
4.9 การเก็บรวบรวมข้อมูลในสถานการณ์จริงในชั้นเรียน โดยใช้แบบประเมินผลการอ่าน และการเขียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4.9 วิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่รวบรวมได้จากแบบทดสอบอ่านคำพื้นฐานก่อนเรียนและหลังเรียน นำมาวิเคราะห์ หาค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วเปรียบเทียบคะแนนความก้าวหน้าของนักเรียนแต่ละคน
5. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม ทั้งหมดรวม 23 คน มีการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน แล้วจึงดำเนินการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน แล้วจึงนำผลมาเก็บรวบรวม ข้อมูลก่อนเรียนและหลังเรียนที่รวบรวมได้ สรุปได้ว่านักเรียนทั้ง 23 คน มีความก้าวหน้าในการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด ดังนี้
ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของนักเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning
ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
การฝึก จำนวนนักเรียน ผลรวม
X ค่าเฉลี่ย
X
ร้อยละ
ค่า S.D
ก่อนเรียน 23 คน 301 13.09 43.62 3.74
หลังเรียน 23 คน 607 26.33 87.97 2.90
จากตารางสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและ การเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.62 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 87.97 จะเห็นได้ว่าคะแนนของค่าเฉลี่ยหลังเรียนมีค่ามากกว่าคะแนนเฉลี่ย
ก่อนเรียน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของก่อนเรียนมีค่าเท่ากับ 3.74 ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 2.90 แสดงว่าข้อมูลมีค่าคะแนนใกล้เคียงกัน ผลของการจัดการเรียนครั้งนี้ทำให้ได้วิธีการสอนคำมาตราตัวสะกด โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อันจะเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนได้นำไปใช้พัฒนากระบวนการเรียนการสอนภาษาไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลที่เกิดกับโรงเรียน จากการวัดและประเมินผล ความสามารถในการอ่านและการเขียน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 1/2 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีคะแนนการอ่านออกเสียงโดยเฉลี่ย 19.43 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 93.35 มีคะแนนการเขียนโดยเฉลี่ย 16.17 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 80.87 รวมความสามารถทั้งสองด้าน 17.75 คะแนน คิดเป็นคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 88.11 ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ ร้อยละ 85
ผลที่เกิดกับครู คือ จากการทำ นวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ Active Learning เป็น นวัตกรรมที่ครูสามารถนำมาใช้จัดกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และนวัตกรรม นี้สามารถนำไปเผยแพร่ให้คุณครูชั้นอื่นได้นำเอาวิธีการและหลักการในนวัตกรรมนี้ไปแก้ไขปัญหาเด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ในแต่ละชั้นได้ จะทำให้แต่ละชั้นนั้นจะเป็นชั้นที่ปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ และส่งผลให้ ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนในแต่ละวิชาเพิ่มสูงขึ้น
ผลที่เกิดกับนักเรียน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีความสามารถด้านการอ่านและการเขียน อยู่ในระดับที่สูงมาก และจากผลการวัดและประเมินผล ความสามารถในการอ่านและเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่าน และเขียน อยู่ในระดับที่สูง เป็นที่น่าพึงพอใจของผู้บริหาร คณะครูและผู้ปกครองเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ นักเรียนยังมีระเบียบวินัย ใฝ่เรียนรู้
6. ปัจจัยความสำเร็จ
จากการดำเนินงานพัฒนาการอ่าน การเขียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 โดยใช้นวัตกรรมวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อ การพัฒนาทักษะการอ่าน การเขียน เรียนรู้ตัวสะกด โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนคำมาตราตัวสะกด สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โดยการบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย นั้นข้าพเจ้าได้นำหลักการและทฤษฎีที่คิดค้นขึ้นมา นอกจากนั้นข้าพเจ้าได้รับการ สนับสนุนและให้ความร่วมมือกับบุคคล หน่วยงาน และภาคีเครือข่าย ดังนี้
หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 ได้ส่งเสริมให้ความรู้การพัฒนาสื่อ การจัดทำนวัตกรรม ผู้บริหาร ครู และนักเรียนโรงเรียนอนุบาลพรรณานิคม เป็นแรงขับเคลื่อนในการดำเนินการพัฒนา นวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการอ่านและการเขียน
มีการปรึกษา ประชุมและวางแผนการร่วมกิจกรรมสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) กับคณะครูในโรงเรียน
ผู้บริหารให้การสนับสนุนด้านสื่อ อุปกรณ์ งบประมาณบางส่วนในการจัดกิจกรรมพัฒนาด้านการอ่าน การเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ และ ยังมีการนิเทศติดตาม ประเมินผลทุกภาคเรียนเพื่อนำผลมาถอดบทเรียนและวางแผนร่วมกันในภาคเรียนต่อไป ทำ ให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ภาคเครือข่ายผู้ปกครอง ผู้ปกครองมีการสนับสนุนและมีการเข้าร่วมประชุมวางแผนในการจัด กระบวนการเรียนการสอนที่แก้ไขปัญหานักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มีการเข้าร่วมพูดคุยและหาแนวทางแก้ไข รวมไปถึงรับทราบแนวทางในการปฏิบัติและให้ความร่วมมือกับคุณครูอย่างเต็มที่ ครูได้จัดทำแบบฝึกอ่าน ฝึกเขียนเรียนรู้ตัวสะกด แจกให้นักเรียนคนละ 1 เล่ม เพื่อให้ผู้ปกครองได้ช่วยฝึกทักษะการอ่าน และการเขียนที่บ้าน พร้อมทั้งส่งคลิปการอ่านเข้ามาในกลุ่มไลน์ จากการปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าว พบว่า ผู้ปกครองมีความใส่ใจในการพัฒนาพร้อมๆกับคุณครูเป็นอย่างมาก ทำให้ การดำเนินงานพัฒนานวัตกรรมการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
7. บทเรียนที่ได้รับ ปรับปรุงคุณภาพมุ่งพัฒนาต่อไป
- ระบุข้อสรุป ข้อสังเกต /ข้อเสนอแนะ และข้อควรระวัง ที่เป็นแนวทางในการนำผลงานไปใช้/
พัฒนาต่อ หรือดำเนินการให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้นต่อไป
ผลการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคุณภาพและประสิทธิภาพอย่างดียิ่ง ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็น
ศูนย์กลาง มุ่งให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง มีส่วนร่วมในรูปแบบของความร่วมมือกัน ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
เป็นสื่อที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพตามผลของการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว
3. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ชุดนี้สร้างขึ้นอย่างถูกวิธี ได้ผ่านขั้นตอนการสร้างและพัฒนาอย่างเป็นระบบ เริ่มตั้งแต่เอกสารหลักสูตรและเอกสารที่เกี่ยวข้องในการใช้หลักสูตร และยังได้รับการแนะนำ ข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ด้านเนื้อหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ความเหมาะสมของเนื้อหา
4. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตรา
ตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นักเรียนเกิดความสนุกสนานในการเรียนรู้
5. การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning เรื่องคำมาตราตัวสะกด ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้เรียงลำดับความยากง่ายสอดคล้องตามธรรมชาติการเรียนรู้ ทำให้เรียนรู้สึกว่าตนเองประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ จึงสรุปได้ว่าแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
ข้อเสนอแนะ
จากผลการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะเพื่อประโยชน์ต่อวงการศึกษาดังนี้
1. ก่อนนำแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปใช้ประกอบการสอน ผู้สอนควรศึกษารายละเอียดของทุกกิจกรรมก่อนนำไปใช้
2. แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 1 นี้ จะเกิดความสมบูรณ์ครูผู้สอนต้องใช้ควบคู่ไปกับแผนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้จัดทำผลงานจัดทำขึ้น
จัดกิจกรรมให้ครบทุกขั้นตอน ต้องตรวจแบบฝึกอย่างเป็นปัจจุบันให้ผู้เรียนรู้ผลทันที พร้อมกับเฉลยคำตอบที่ถูกต้องให้ผู้เรียนได้รู้ทุกครั้ง