สุภาวดี ภาสตโรจน์ (2564) การประเมินโครงการการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนบ้านซำโพธิ์
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินการประเมินโครงการการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง ด้านการศึกษา โรงเรียนบ้านซำโพธิ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้รับผิดชอบโครงกร ความเหมาะสมของกิจกรรม ความเหมาะสมของพื้นที่ ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการ การกำกับติดตาม ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับการดำเนินการขับเคลื่อนการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา จากสถานศึกษาพอเพียง สู่ การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ ด้านการศึกษา โรงเรียนบ้านซำโพธิ์ 3 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ / แหล่งเรียนรู้ / สิ่งแวดล้อมและด้านความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก ตลอดจนความรู้เรื่องทักษะชีวิตของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วม ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 127 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 62 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 8 คน ผู้ปกครอง จำนวน 50 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 8 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ โดยประเด็นที่ผ่านในระดับมากที่สุดมี 2 ประเด็น คือ ด้านกระบวนการ รองลงมาคือ ด้านผลผลิต และผ่านเกณฑ์ในระดับมากมี 2 ประเด็น คือ ด้านบริบท และด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็นบริบทในระดับมาก โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
1.2 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็นปัจจัยนำเข้า ในระดับมาก โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ความเหมาะสมของอาคารสถานที่ / แหล่งเรียนรู้ / สิ่งแวดล้อม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.3 ความเหมาะสมของความเหมาะสมของกิจกรรม/ฐานการเรียนรู้ พบว่า ผ่านเกณฑ์การ
ประเมิน ในระดับมาก
2.4 ความเหมาะสมของความสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3. ผลการประเมินประเด็นกระบวนการ พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็นกระบวนการในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 กิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
3.2 การกำกับติดตาม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินประเด็นผลผลิต พบว่า มีผลการดำเนินโครงการ ในประเด็นผลผลิตในระดับสูง โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ด้านบุคลากร (ผู้บริหาร ครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว มีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีวิถีการดำเนินชีวิต ที่ใช้คุณธรรมกำกับความรู้ สามารถพัฒนาตนเอง ครอบครัว องค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ให้ก้าวหน้าพร้อมกับความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน และสามารถนำหลักคิดหลักปฏิบัติ ไปประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิต พออยู่ พอกิน พอใช้อย่างมั่นคง สามารถอยู่กับคนอื่นในสังคมอย่างสันติสุข อยู่ร่วมกันกับธรรมชาติ ได้อย่างสมดุล ยั่งยืน และเพื่อให้ทุกคนอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีรากเหง้าทางวัฒนธรรม เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.2 การจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพ พบว่าหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว โรงเรียนมีการจัดสร้าง จัดหา ปรับปรุง และปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมทางกายภาพ จิตภาพ และสังคม ในกระบวนการพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณสมบัติทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ตามที่หลักสูตรกำหนด มีแผนงาน/นโยบายในการใช้สถานที่ มีศูนย์ข้อมูล/แผนผังแสดงแหล่งการเรียนรู้/ฐานกิจกรรม มีผู้รับผิดชอบการใช้ ปรับปรุง ดูแลรักษา อาคารสถานที่และจัดสภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนรู้อย่างเหมาะสม สร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและใช้ประโยชน์ได้พร้อมทั้งมีส่วนร่วมของชุมชน เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด มีแหล่งเรียนรู้หรือฐานการเรียนรู้หรือกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง มีสื่อประกอบการเรียนรู้ประจำฐาน มีวิทยากรประจำฐานการเรียนรู้ที่สามารถอธิบาย บอกเล่าความรู้ได้ มีแผนการจัดการเรียนรู้ประจำฐาน/กิจกรรมการเรียนรู้และมีการประเมินและพัฒนาฐานการเรียนรู้/กิจกรรมอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับภูมิสังคมของสถานศึกษาและมีการจัดการอย่างพอเพียง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.3 ด้านการสร้างสัมพันธ์กับหน่วยงานภายนอก พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว โรงเรียนความสัมพันธ์กับสถานศึกษาทั่วไปในการขยายผลการขับเคลื่อน ปศพพ. โรงเรียนมีเครือข่ายการเรียนรู้ ปศพพ. สามารถบริหารจัดการเพื่อเป็นสถานศึกษาดูงาน เป็นแหล่งรู้ เป็นโรงเรียนแกนนำของเคลือข่ายขับเคลื่อนและสามารถในการพัฒนาสถานศึกษาอื่น เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด และโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างๆ มีการประสานความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนโครงการ สามารถบริหารจัดการความสัมพันธ์ได้ดี ได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากหน่วยงาน/การขยายผล การประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.4 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.5 ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.6 ความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมินที่พบว่า ประเด็นผลผลิตของโครงการ ตัวชี้วัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่ว่ามีการชี้แจง ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ ชัดเจน และกิจกรรมมีความหลากหลาย เหมาะสม สามารถปฏิบัติได้จริง อยู่ในระดับปานกลาง จึงควรดำเนินการดังนี้
1.1 เพิ่มเวลาในการชี้แจงประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการ / กิจกรรม โดยสอดแทรกในกิจกรรมอื่นที่เป็นกิจกรรมประจำวัน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจการดำเนินงานของโครงการชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมโฮมรูม เป็นต้น
1.2 เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ความรู้ สร้างความความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และประโยชน์ของโครงการที่นักเรียนจะได้รับ เช่น ให้เวลานักเรียนได้ซักถามเมื่อเกิดข้อสงสัย ตั้งคำถามให้นักเรียนได้สะท้อนความรู้สึกหรือมุมมองของตนเอง ตั้งคำถามให้นักเรียนได้คิดได้เชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์หรือความรู้ที่มีมาก่อน หรือตั้งคำถามถึงสิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ใหม่ไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นต้น
1.3 เพิ่มกิจกรรมที่มีความแตกต่างจากที่เคยมีเคยปฏิบัติ เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้ ความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน การศึกษาแหล่งเรียนรู้นอกสถานศึกษาที่มีกิจกรรมแตกต่าง แต่สามารถนำมาปรับใช้กับตนเองได้ เช่น การปลูกผักแขยงและการแปรรูป การเลี้ยงหอยเชอรี่ ทัศนศึกษาโรงเรียนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง วิธีการแปรรูปผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้น
2. จากผลการประเมินที่พบว่า ประเด็นผลผลิตของโครงการ ตัวชี้วัดความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อโครงการอยู่ในระดับมาก แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อคำถามที่ว่าบุตรหลานของท่านมีความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น บุตรหลานของท่านศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ด้วยตนเองมากขึ้น และบุตรหลานของท่านกล้าคิดกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น อยู่ในระดับปานกลาง จึงควรดำเนินการดังนี้
2.1 ให้ผู้ปกครองได้มีส่วนร่วมในการกำหนดกิจกรรม และการดำเนินกิจกรรม เพื่อผลที่ได้รับในทางปฏิบัติเชื่อมโยง เกี่ยวโยง ระหว่างบ้านและโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม เช่น ใบงาน/ผลงานที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม การปลูกพืชผักสวนครัว การจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรของครอบครัว การจัดตลาดนัดทางการเกษตรที่ผู้ปกครองมีส่วนร่วม การจัดนิทรรศการแสดงผลงานนักเรียน เป็นต้น
2.2 จัดประชุมผู้ปกครองสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโครงการ และเปิดโอกาสให้ผู้ปกครองได้แสดงความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาทักษะชีวิตได้ตามสภาพจริง