เรื่องที่ศึกษา : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้บูรณาการวิชาภูมิปัญญาท้องถิ่น
ของอำเภอทุ่งเสลี่ยม ตามแนวคิดการทำงานร่วมกันแบบเชิงรุก
เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 5 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์
ผู้รายงาน : นางชุติมา แก้วหล้า
ระยะเวลาในการศึกษา : ปีการศึกษา 2563 และ ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการระหว่างวิชา ด้วยรูปแบบการสอน CLAE Model วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอทุ่งเสลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความมุ่งหมายของการศึกษาดังนี้ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้บูรณาการระหว่างวิชาด้วยรูปแบบการสอน CLAE Model วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอทุ่งเสลี่ยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) หาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน (3) เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอทุ่งเสลี่ยม (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการระหว่างวิชาด้วยรูปแบบการสอน CLAE Model วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอทุ่งเสลี่ยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนทุ่งเสลี่ยมชนูปถัมภ์ อำเภอทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จำนวน 59 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ (1) เอกสารประกอบการเรียน วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอทุ่งเสลี่ยม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 เล่ม (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้แบบอิงกลุ่ม โดยมีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.30 0.78 และค่าอำนาจจำแนก (B) อยู่ระหว่าง 0.23 - 0.60 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเป็น 0.82 (3) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้บูรณาการระหว่างวิชา ด้วยรูปแบบการสอน CLAE Model วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอทุ่งเสลี่ยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t test
ผลการศึกษาปรากฏผลดังนี้
1. ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้บูรณาการระหว่างวิชา ด้วยรูปแบบการสอน CLAE Model วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอทุ่งเสลี่ยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ 90.31/87.40 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนด
2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้บูรณาการระหว่างวิชา ด้วยรูปแบบการสอน CLAE Model วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอทุ่งเสลี่ยม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7770 หมายความว่านักเรียน มีความก้าวหน้าทางการเรียนคิดเป็นร้อยละ 77.70
3. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้บูรณาการระหว่างวิชา ด้วยรูปแบบการสอน CLAE Model วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอทุ่งเสลี่ยม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการระหว่างวิชา ด้วยรูปแบบการสอน CLAE Model วิชา ส30246 ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอ ทุ่งเสลี่ยม ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมาก