ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model
ชื่อผู้รายงาน : จันทนา แจ้งประจักษ์
ปีที่ประเมิน : 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน ดังนี้ 1) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation: C) 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation: P) 5) ประเมินโครงการ ด้านผลกระทบ (Impact Evaluation: I) 6) ประเมินโครงการด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation: E) 7) ประเมินโครงการด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation: S) และ 8) ประเมินโครงการด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation: T) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการ มีจำนวนทั้งสิ้น 311 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 8 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการประเมินและการหาคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น ค่าความตรงเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์เนื้อหา
สรุปผล
การประเมินโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST สรุปผล ดังนี้
การประเมินโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model ทั้ง 8 ด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation: S) ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation: T) ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation: E) ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด และ ด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด
ส่วนการประเมินด้านผลผลิต ผู้ประเมินได้ประเมินจากวัตถุประสงค์ของโครงการ 3 ข้อ ดังนี้ 1) นักเรียนมีความรู้เรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 6 มีผลการทดสอบผ่านร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด 2) สังเกตการปฏิบัติใน การป้องกันตนเองจากอุบัติเหตุและอุบัติภัย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 มีการปฏิบัติ ในระดับปฏิบัติเป็นประจำ และ 3) มีเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย มีการปฏิบัติในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
ตอนที่ 1 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบท (Context Evaluation: C) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านบริบท (Context Evaluation: C) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model โดยการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ประเมินพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้อง ในระดับมาก
ตอนที่ 2 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation: I) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model โดยการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความเพียงพอในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ประเมินพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน มีความเพียงพอในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความเพียงพอในระดับมากที่สุด
ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านกระบวนการ (Process Evaluation: P) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน โดยรวม มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ประเมินพบว่า ผู้ปกครองนักเรียน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ นักเรียน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด และครูผู้สอน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด
ตอนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลผลิต (Products Evaluation: P) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model
4.1 ผลการทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3 โดยรวมผลการทดสอบก่อนเรียน ได้คะแนน 1,427 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 60.52 ของคะแนนเต็ม หลังเรียนได้คะแนน 1,941 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 82.39 ของคะแนนเต็ม และคะแนนและค่าเฉลี่ยร้อยละของความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 144 คน โดยรวมผลการทดสอบก่อนเรียนได้คะแนน 1,821 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 63.25 ของคะแนนเต็ม หลังเรียนได้คะแนน 2,391 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.04 ของคะแนนเต็ม
4.2 ผลการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกในการปฏิบัติตนถึงความปลอดภัยในสถานศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 มีการปฏิบัติเป็นประจำ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 80 ของนักเรียนทั้งหมด
4.3 ผลการวิเคราะห์เจตคติต่อการปฏิบัติกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 มีเจตคติต่อการปฏิบัติกิจกรรมสถานศึกษาปลอดภัย ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง
ตอนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลกระทบ (Impact Evaluation: I) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผลกระทบ (Impact Evaluation: I) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ประเมิน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอน มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความคิดเห็นในระดับมาก
ตอนที่ 6 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation: E) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation: E) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ประเมิน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ผู้ปกครองนักเรียน มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอน มีความพึงพอใจ ในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจในระดับมาก ตามลำดับ
ตอนที่ 7 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation: S) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation: S) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ประเมิน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ครูผู้สอน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ผู้ปกครองนักเรียน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
ตอนที่ 8 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation: T) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation: T) ของโครงการส่งเสริมสถานศึกษาปลอดภัย โดยใช้ CIPPIEST Model โดยการประเมินของครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวม มีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามสถานภาพของผู้ประเมิน โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ ผู้ปกครองนักเรียน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ครูผู้สอน มีการปฏิบัติ ในระดับมากที่สุด และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ตามลำดับ