บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 2. เพื่อพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA ของโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาอย่างเจาะจงจากผู้มีความพร้อมและเต็มใจให้ข้อมูล รวมทั้งสิ้น 37 คนประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน ผู้บริหารโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม จำนวน 2 คน ครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 จำนวน 12 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง 6 จำนวน 12 คน นักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง 6 จำนวน 6 คน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง จำนวน 8 คน การรวบรวมข้อมูลใช้กรอบการสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์และสรุปผล ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนยังมีปัญหาขาดการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ ขาดการกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ส่วนการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA ของโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม นั้น ต้องมีการพัฒนาและจัดทำเอกสารคู่มือที่สมบูรณ์ มีการกำหนดหลักเกณฑ์การประเมินมีแบบฟอร์มเอกสารการประเมินและแบบบันทึกพฤติกรรมนักเรียนให้ชัดเจนตามวงจร PDCA เพื่อใช้ในการดา เนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม ต่อไป
สรุปผลการวิจัย
จากการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและ การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA ของโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม ตามองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน
1. สภาพปัญหาและทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมูลนิธิ วัดศรีอุบลรัตนาราม พบว่า
1.1 ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบว่า ขาดการกำกับติดตามผลการดูแลนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ครูที่ปรึกษาบางคนไม่ให้ความร่วมมือและละเลยการทางานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ขาดการประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองในการเก็บข้อมูล ซึ่งทางโรงเรียนได้มีกำหนดการให้เยี่ยมบ้านตามระยะเวลาและสรุปผลการเยี่ยมบ้านในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งตามเวลาที่กำหนดให้และยังขาดบุคลากรในการดาเนินการโดยตรงในเรื่องของประมวลผลข้อมูล ข้อควรปรับปรุง แก้ไขและดาเนินการเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์ได้แนวทาง คือ โรงเรียนควรมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูที่ปรึกษาเป็นระยะและรายงานผลต่อผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ
1.2 ด้านการคัดกรองนักเรียน พบว่า ในการดำเนินงานด้านการคัดกรองนักเรียน(แบบประเมินนักเรียน : SDQ) การแปลผลข้อมูลขัดแย้งกัน และข้อความขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้ข้อมูลมีความคลาดเคลื่อนกับพฤติกรรมของนักเรียน เนื่องการจัดเก็บข้อมูลด้านการคัดกรองนักเรียน ยังไม่มีการประมวลข้อมูลอย่างเป็นระบบ และครูที่ปรึกษาไม่ทราบวิธีการประมวลผลการคัดกรองนักเรียน มีการเปลี่ยนครูที่ปรึกษาทุกปี จึงทำให้ขาดความต่อเนื่องในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ข้อควรปรับปรุง แก้ไข และดำเนินการเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์พบได้แนวทาง คือ ควรมีบุคลากรที่รับผิดชอบโดยตรงในการจัดระบบนำข้อมูลสารสนเทศของนักเรียน ทางโรงเรียนควรมีการประมวลผลการคัดกรองนักเรียนในแต่ละช่วงชั้นหรือให้ความรู้ในการประมวลผลการคัดกรองนักเรียนแก่ครูที่ปรึกษา
1.3 ด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน พบว่า มีครูไม่เพียงพอต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเท่าที่ควรประกอบกับการเป็นครูที่ปรึกษาและครูมีภาระงานที่นอกเหนือจากการสอนหนังสือและภาระงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่มงานต่าง ๆ ส่งผลให้ครูที่ปรึกษามีภาระงานมากขึ้น ทำให้การส่งเสริมนักเรียนยังไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ข้อควรปรับปรุง แก้ไขและดำเนินการเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์พบได้แนวทาง คือ ควรให้การส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนในด้านต่าง ๆ จัดกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างต่อเนื่องโดยมีครูเป็นที่ปรึกษา
1.4 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา พบว่า ในการดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ครูไม่สามารถติดตาม ดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง และยังขาดการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียน ไม่มีการบันทึกข้อมูลในด้านของพฤติกรรมนักเรียน ขาดความเข้าใจและปล่อยปะละเลย ทำให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังไม่ครบตามขั้นตอนและวัตถุประสงค์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ข้อควรปรับปรุง แก้ไขและดาเนินการเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์พบได้ แนวทาง คือ ควรมีการประสานพบปะกับผู้ปกครองเพื่อแก้ไขปัญหา มีการจัดประชุมผู้ปกครองเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ในการดูแลร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน
1.5 ด้านการส่งต่อนักเรียน พบว่า ยังไม่มีความชัดเจนของข้อมูลในด้าน การประสานงาน การส่งต่อนักเรียนมีเฉพาะภายในสถานศึกษา ซึ่งมีวิธีการส่งต่อนักเรียนยังไม่มีความ
ชัดเจนของข้อมูล และการส่งกลับข้อมูลให้กับครูที่ปรึกษา เพื่อบันทึกข้อมูลการส่งต่ออย่างเป็นระบบ ทำให้ข้อมูลเอกสารหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีไม่ครบสมบูรณ์ ข้อควรปรับปรุงแก้ไขและดำเนินการเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์พบได้แนวทาง คือ ควรมีแบบบันทึกการส่งต่ออย่างเป็นระบบ และมีการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลและการนำไปใช้ประโยชน์ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 พบว่า ผลจากการบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากกลุ่มตัวอย่างและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง จำนวน 9 คน เพื่อการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม ร่างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในด้านภาพรวมตามแผนที่กำหนดไว้ในร่างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม มีความเหมาะสมกับวิธีดา เนินงานโดยใช้วงจร PDCA ดังนี้ ขั้นตอนการวางแผน (P) สร้างความตระหนักและความเข้าใจระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วางแผนการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยจัดประชุมคณะครูที่ปรึกษาเพื่อสร้างความตระหนักร่วมกันและความเข้าใจระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน แล้วดำเนินงานแต่งตั้งคณะกรรมการในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดทำคำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษาแต่ละระดับชั้น และจัดทำแบบประเมินผลการประชุมปฏิบัติการดูแลช่วยเหลือนักเรียนดังกล่าวเพื่อให้ครู ร้อยละ 100 มีความตระหนักมีความรู้และเข้าใจระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนขั้นตอนการปฏิบัติงาน (D) สมาชิกที่ร่วมสนทนากลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกันใน ด้านการดำเนินงานตามองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล มติเห็นชอบควร กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามเกณฑ์มาตรฐานของโรงเรียน ให้เป็นร้อยละ 100 เพราะครูทุกคนต้องรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลให้ครบทุกคน ด้านการคัดกรองนักเรียน มติที่ประชุมมีความคิดเห็นสอดคล้องตามร่างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการส่งเสริมนักเรียน ผลจากมติที่ประชุมมีความเห็นชอบ ให้เป็นไปตามร่างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและควรเพิ่มการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ การส่งเสริมระเบียบวินัยนักเรียน การระดมทรัพยากรเพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้ในอนาคตต่อไป ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ผลจากมติที่ประชุมเห็นชอบ และเสนอแนะให้มีการกากับติดตามผลการแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม มีแบบบันทึกที่กาหนดกรอบแนวทางอย่างชัดเจน รายงานผลต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้บังคับบัญชา ด้านการส่งต่อนักเรียน ครูที่ปรึกษาต้องรายงานผลการปฏิบัติงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน บันทึกการส่งนักเรียนไปยังครู ที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษาและทีมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือดา เนินการประเมินทบทวนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนสลับช่วงชั้นกัน บันทึกรายงานผลการประเมินกระบวนการต่าง ๆ ของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อการจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เขียนรางาน ผลการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยมติที่ประชุมกำหนดให้รายงานผลการดำเนินงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยจัดทำออกมาเป็นรูปเล่มคู่มือที่สมบูรณ์ในรูปแบบที่กำหนดร่วมกัน บันทึกเสนอต่อผู้บริหารพิจารณา ขั้นตอนการตรวจสอบ (C) ประเมินผลเพื่อทบทวนการพัฒนาระบบดูแลฯ ประเมินภายในตามเกณฑ์โรงเรียน โดยจัดทีมนิเทศ ติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการดาเนินงานและจัดประชุมเพื่อทบทวนรายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามตัวชี้วัดความสำเร็จแผนงานที่กำหนดไว้ตามองค์ประกอบ 5 ขั้นตอนขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข (A) ประชุมเพื่อรายงานความสำเร็จ ความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค ตามเกณฑ์ของโรงเรียนที่กำหนดไว้ คณะครูทบทวนงานการปฏิบัติที่ผ่านมาภายใต้วงจร PDCA เพื่อวางแผนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในปี การศึกษาต่อไป ข้อควรปรับปรุง แก้ไขและดำเนินการเพิ่มเติม คือ ควรปรับปรุงจัดทำเอกสารให้เป็นคู่มือรูปเล่มที่ชัดเจน ควรจัดทาคู่มือสาหรับผู้ปกครอง-นักเรียน และควรเพิ่มเรื่องการทำโทษผู้เรียนรวมถึงการเพิ่มเนื้อหาเรื่องจิตวิทยาการให้คำปรึกษาเบื้องต้น
อภิปรายผล
การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ผู้วิจัยมีประเด็นสำคัญนำมาอภิปรายผล ดังนี้
1. จากการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม พบว่า งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล พบปัญหาและขาดการดำเนินงานอย่างเป็นระบบด้านการคัดกรองนักเรียน พบว่า ข้อมูลการคัดกรองนักเรียนไม่ตรงตามความจริงเท่าที่ควร ในส่วนของด้านการส่งเสริมพัฒนานักเรียน โรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม มีครูไม่เพียงพอต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเท่าที่ควร ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา ครูไม่สามารถติดตาม ดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง และยังขาดการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียน และด้านการส่งต่อนักเรียน ยังไม่มีความชัดเจนของข้อมูลในการประสานงาน จากการศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม นั้น งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนตามองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหา มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เนื่องจากครูไม่สามารถติดตาม ดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึงและยังขาดการมีส่วนร่วมภายในโรงเรียน ไม่มีการบันทึกข้อมูลในด้านของพฤติกรรมนักเรียน ทำให้ไม่สามารถส่งต่อไปยังครูที่ปรึกษาคนใหม่ เพื่อใช้ในการประกอบการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดกับนักเรียนในอนาคตและผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาบางส่วนยังขาดความร่วมมือกับทางโรงเรียน ขาดความเข้าใจและปล่อยปะละเลย ทำให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังไม่ครบตามขั้นตอนและวัตถุประสงค์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ดังนั้นครูที่ปรึกษาควรมีข้อมูลประวัติของนักเรียนทั้งหมด เพื่อให้สามารถดูแลแก้ไขปัญหาและสนับสนุนนักเรียนได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของพรสวรรค์ สอนสุภาพ (2553) วิจัยเรื่อง การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านด่านคำ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร พบว่าสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ก่อนการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนครูประจำชั้นดำเนินงานตามขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนยังดา เนินงานได้ไม่ครบทั้ง 5 ขั้นตอนดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนไม่เป็นระบบ ขาดความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จึงได้ทำการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการศึกษาเอกสาร การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ การประชุมเชิงปฏิบัติ การดำเนินงานตามขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการนิเทศติดตามผล พบว่า หลังการพัฒนาครูประจำชั้นทุกคนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นร้อยละ 20 จากการประชุมปฏิบัติการผลจากการพัฒนาการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก และครูประจำชั้นสามารถจัดทำคู่มือการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติในโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การติดตามและประเมินผลการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านด่านคำ พบว่าครูประจำชั้นทุกคนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถดำเนินงานตามขั้นตอนระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบมากขึ้น ครูประจำ ชั้นได้แนวทาง การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียน นักเรียนได้รับการดูแลช่วยตรงตามสภาพปัญหาและความต้องการ และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของสิทธิศักดิ์ อุสาพรม (2552) ดำเนินการวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียน บ้านอูนนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครพนม เขต 2 พบว่า สภาพปัญหาปัจจุบันและปัญหาที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ก่อนการพัฒนาการดา เนินงานยังไม่มีรูปแบบไม่มีขั้นตอนในการดำเนินงานที่เป็นระบบครูที่ปรึกษามีความเข้าใจในหน้าที่ของตนเองน้อย และไม่มีการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองที่จะเข้ามาช่วยดูแลและแก้ปัญหาของนักเรียนร่วมกันกับคณะครูในโรงเรียน และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของ ยุวดี ปั้นงา (2554) วิจัยเรื่อง พัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลวัดไชยชุมพลชนะสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต 1 ปัญหาที่พบจากการดาเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การวางแผนการทางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนร่วมกันระหว่างครู และผู้บริหาร มีข้อจำกัดเรื่องเวลาและมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ครูและบุคลากรขาดเทคนิคความรู้ใน การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนการกำกับติดตามขาดความต่อเนื่อง ผู้ปกครองให้ความร่วมมือค่อนข้างน้อย และยังสอดคล้องกับ งานวิจัยของอวยชัย ศรีตระกูล (2556) ศึกษา การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า ผู้บริหาร ครู ต้องมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมสำคัญในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการพัฒนาและสรุปผลการทำงานร่วมกันอยู่สม่ำเสมอ การประสานงานเป็นหัวใจของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนครูต้องใช้ทักษะการประสานงานรอบด้านใช้เทคนิคการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างสัมพันธภาพอันดีเพื่อให้เป้าหมายบรรลุผลสำเร็จ
2. ผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 พบว่า ได้รับความเห็นชอบการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) เห็นประโยชน์ของร่างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีองค์ประกอบครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอยู่มากในด้านภาพรวม ตามแผนการดำเนินงานที่กำหนดไว้ในร่างระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA มีความเหมาะสมกับวิธีดำเนินงาน ระยะเวลา สมาชิกที่ร่วมสนทนากลุ่มมีความคิดเห็นพ้องต้องกัน มีการสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการร่างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม ในการปฏิบัติงานด้านการดำเนินงานตามองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน มีการประเมินผลเพื่อทบทวนการพัฒนาระบบดูแลฯ ประเมินภายในตามเกณฑ์โรงเรียน โดยจัดทีมนิเทศ ติดตามตรวจสอบ ประเมินผลการดาเนินงานและจัดประชุมเพื่อทบทวนรายงานผลการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ตามตัวชี้วัดความสำเร็จแผนงานที่กำหนดไว้ และประชุมเพื่อรายงานความสำเร็จ ความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรคตามเกณฑ์ของโรงเรียน คณะครูทบทวนงาน การปฏิบัติที่ผ่านมาภายใต้วงจร PDCA เพื่อวางแผนการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในปีการศึกษาต่อไป ดังนั้น การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA ตามองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน จากสภาพปัญหานำมาสู่การสนทนากลุ่ม (Focus Group) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สามารถอภิปรายผลในประเด็นที่น่าสนใจได้ ดังนี้ ด้านการส่งเสริมนักเรียน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นชอบตาม ร่างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เนื่องจากร่างระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีการกำหนดเรื่องและกิจกรรมโฮมรูมตามสภาพปัญหา วิธีการจัดกิจกรรมแนะแนวในห้องเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์กับนักเรียน การประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) โดยความต้องการของผู้เรียน/ผู้ปกครอง ได้ร่วมกันออกแบบกิจกรรมที่เน้นการพัฒนาทักษะชีวิต ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนใช้ชีวิตในโรงเรียนร่วมกันอย่างมีความสุข ให้ผู้ปกครองได้แสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นสาระที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จากปัญหาที่นำมาสู่การทำวิจัย คือ ปัญหานักเรียนแต่งกายไม่เรียบร้อย มติที่ประชุมเห็นควรจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรวมสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ส่งเสริมระเบียบวินัยนักเรียน ระดมทรัพยากร เพื่อดูแล ช่วยเหลือ แนะแนวทางการศึกษาและส่งเสริมโอกาสตามที่ผู้เรียนสมควรได้รับ พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสริมสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างโรงเรียน กับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติติตนเป็นผู้มีสุขนิสัยที่ดีและดูแลความปลอดภัยของตนเองได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิต สุขภาพกาย ตามมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดี เพื่อให้ผู้เรียนปฏิบัติติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของโรงเรียนและสังคมซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของสุทัศน์ เอี่ยมแสง (2558) กล่าวถึง ความสำคัญและความจำเป็นของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน คือ การส่งเสริม พัฒนาป้องกันและแก้ปัญหา เพื่อเพิ่มศักยภาพให้นักเรียนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญาและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม นักเรียนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีวิถีชีวิตที่พอเพียงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ทั้งทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้เด็กและเยาวชนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากอดีต ส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย ซึ่งการแก้ไขปัญหาไม่ใช่หน้าที่ของสถานศึกษาอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทุกคนโดยมีครูที่ปรึกษาเป็นหลักสำคัญในการดาเนินงานต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง และสอดคล้องกับงานวิจัยของบรรทม รวมจิตร (2553) วิจัยเรื่องการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือโรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงราย เขต 4 ผลการศึกษาพบว่า ครูที่ปรึกษาในแต่ละระดับชั้นได้วางแผนร่วมกันในการดำเนินงานเพื่อดูแลและช่วยเหลือนักเรียน ครูที่ปรึกษาได้ทำความรู้จักกับนักเรียนเป็นรายบุคคล ครูที่ปรึกษาได้จัดกิจกรรมในการส่งเสริมนักเรียนปกติ และจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียน โรงเรียนมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียนเห็นความสำคัญของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้ความสำคัญกับการ มีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ปกครอง และชุมชน และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ยังส่งผลให้นักเรียนรู้จักตนเองและควบคุมตนเองได้ รวมทั้งสัมพันธภาพระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี และยังสอดคล้องกับสานักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ (2552) กล่าวว่า ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นกระบวนการดำเนินงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอน มีครูที่ปรึกษาเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและนอกสถานศึกษา อันได้แก่คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้บริหารและครูทุกคน มีวิธีการและเครื่องมือที่ชัดเจนมีมาตรฐานคุณภาพและมีหลักฐานการทำงานที่ตรวจสอบได้
ข้อเสนอแนะ
จากงานวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนมูลนิธิวัดศรีอุบลรัตนาราม อำเภอเมืองอุบลราชธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 มีข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย ดังนี้