ชื่อเรื่อง รายงานการนิเทศเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการทำวิจัยในชั้นเรียนของ
ครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ
ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง โดยใช้คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน
ผู้วิจัย นายวสันต์ แปงจิตต์
ปีที่ทำเสร็จ พ.ศ.2565
บทคัดย่อ
รายงานการนิเทศครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของคู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียนทั้งก่อนและหลังการใช้คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อสังเคราะห์งานวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง ภายหลังการใช้คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง ที่มีต่อคู่มือนิเทศเรื่องการวิจัยในชั้นเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง ภายหลังการใช้คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปางทั้งสิ้น 21 โรงเรียน จำนวน 31 คน ปีการศึกษา 2565 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง ที่สมัครเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 17 โรงเรียน จำนวน 22 คน ปีการศึกษา 2565 และนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนกับครูกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 434 คน ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1. คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน จำนวน 11 เล่ม 2.แบบประเมินคุณภาพของคู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียนมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 13 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ 3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน มีลักษณะเป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ 4. แบบสังเคราะห์รายงานวิจัยในชั้นเรียน มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ จำนวน 24 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ 5.แบบประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อคู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ และ6.แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ได้แก่ 1. วิเคราะห์ค่าความเที่ยงตรง เชิงเนื้อหาของคู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้ดัชนีความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ (IOC) 2. วิเคราะห์หาประสิทธิภาพของคู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียนโดยใช้โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3. วิเคราะห์หาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของของแบบทดสอบความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้เทคนิคกลุ่มสูง กลุ่มต่ำ 4. วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของของแบบทดสอบความรู้ด้านการวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้สูตร KR.20 5. วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจ ด้วยวิธีการหาความคงที่ภายใน จากสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค 6. ศึกษาความพึงพอใจของครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง ที่มีต่อคู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ7. ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนของครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง ภายหลังการใช้คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน โดยใช้ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
สรุปผลการศึกษา
ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน มีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทุกข้อรายการประเมิน
2. ครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการวิจัยในชั้นเรียนภายหลังการใช้คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน เพิ่มขึ้น 11.80 คะแนน หรือ คิดเป็นร้อยละ 66.18
3. ผลการสังเคราะห์งานวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง ภายหลังการใช้คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน พบว่า สาระที่ครูผู้สอนต้องการพัฒนาส่วนใหญ่อยู่ในสาระการเขียนโปรแกรม (ร้อยละ 45.45) ครูผู้สอนได้กำหนดวัตถุประสงค์ในงานวิจัยในชั้นเรียนจำนวน 3 ข้อ (ร้อยละ 50.00) ดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 100) ใช้แบบฝึกทักษะเป็นนวัตกรรมในการแก้ปัญหา (ร้อยละ 68.18) มีการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการวิจัยในชั้นเรียนจำนวน 16-20 แผน (ร้อยละ 36.36) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียนได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถาม แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ และแบบวัดผลงานภาคปฏิบัติ มีการหาคุณภาพเครื่องมือประกอบการวิจัยในชั้นเรียนทุกชนิดโดยการสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญ (ร้อยละ 100.00) นอกจากนั้นมีการหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการการเรียนโดยใช้ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยากง่าย และค่าความเชื่อมั่น (ร้อยละ 86.36) หาคุณภาพของแบบประเมินความพึงพอใจโดยหาค่าความเชื่อมั่น (ร้อยละ 90.90) ใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องคิดเลขช่วยในการคำนวณค่าสถิติ ใช้เวลาในการดำเนินการวิจัยในชั้นเรียนระหว่าง 1 2 ภาคการศึกษา และมีผลการวิจัยในชั้นเรียนเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 100.00)
ปัญหา อุปสรรคการทำวิจัยในชั้นเรียน พบว่า ครูผู้สอนมีปัญหาในด้านการเลือกปัญหาในการทำการวิจัยในชั้นเรียน การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเขียนโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน การสร้างนวัตกรรม/แผนการเรียนรู้ประกอบการทำวิจัยในชั้นเรียน การสร้างเครื่องมือวัดผลการวิจัยการวิจัยในชั้นเรียน การวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลการวิเคราะห์ การอภิปรายผลการวิจัยในชั้นเรียน การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน ด้านบุคลากรที่ให้คำปรึกษาการวิจัยในชั้นเรียน การบริหารเวลาในการทำการวิจัยในชั้นเรียนและงบประมาณในการดำเนินงานการวิจัยในชั้นเรียน
ข้อเสนอแนะและความต้องการความช่วยเหลือจากสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดลำปาง พบว่า ครูผู้สอนเสนอแนะในเรื่อง บุคลากรที่ให้คำปรึกษาการวิจัยในชั้นเรียน วิธีการสร้างเครื่องมือและการวิเคราะห์คุณภาพเครื่องมือ และการวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลการวิเคราะห์ การเขียนโครงร่างการวิจัยในชั้นเรียน การเขียนรายงานการวิจัยในชั้นเรียน มีหน่วยงานสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน และงบประมาณสนับสนุน
4. ครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง มีความพึงพอใจต่อคู่มือนิเทศ เรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน รายวิชาวิทยาคำนวณ ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญ จังหวัดลำปาง ภายหลังการใช้คู่มือนิเทศเรื่อง การวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด