รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1
กรณีศึกษา : โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์)
โดย นายกิตติพงศ์ มงคลคำ รองผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์)
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินสภาพแวดล้อมและบริบทของโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 2) ประเมินความเหมาะสมของปัจจัยเบื้องต้นของโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 3) ประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และ 4) ประเมินความเหมาะสมของผลผลิตของโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมของ โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 โดยใช้กระบวนการวัดและประเมินด้วยวิธีการเชิงระบบ (System Approach) ในรูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) แหล่งข้อมูลประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรวม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูการศึกษาพิเศษ ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ และครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม รวมจำนวนทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X-bar) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูการศึกษาพิเศษ ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ และครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณา-นุเคราะห์) จำนวนทั้งสิ้น 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่สร้างตามกรอบแนวคิดของคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับมีค่าเท่ากับ .95 จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบกำหนดคำตอบให้เลือก (Multiple Choices)
ตอนที่ 2 สภาพแวดล้อมและบริบททั่วไป ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต ของโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โรงเรียนอนุบาลเมืองเชียงราย (สันทรายราษฎร์ดรุณานุเคราะห์) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X ̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินพบว่า
1. สภาพแวดล้อมและบริบททั่วไปของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ซึ่งผลการประเมินตามเกณฑ์ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการจัดการเรียนเรียนรวม สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ รองลงมาได้แก่ หลักการและเหตุผลของโครงการมีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด และวัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน ตามลำดับ
2. ปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการประเมินตามเกณฑ์ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ ด้านงบประมาณ ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การใช้งบประมาณ ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ รองลงมาได้แก่ การใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการมีความคุ้มค่าและและงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินโครงการ ตามลำดับ ด้านสื่อวัสดุ อุปกรณ์ ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ใช้วัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินโครงการอย่างคุ้มค่า รองลงมาได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนานักเรียนเรียนรวมมีคุณภาพดี และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในโครงการมีความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว ตามลำดับ ด้านการบริหารจัดการ มีการแจ้งนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการให้คณะครูในโรงเรียนทราบอย่างชัดเจนและทั่วถึง รองลงมาได้แก่ มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และมีการดำเนินงานโครงการเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน ตามลำดับ
3. กระบวนการดำเนินงานของโครงการตามโครงสรhางซีต (SEAT Frameworks) มีความคิดเห็นในระดับมาก ผลการประเมินตามเกณฑ์ปรากฏว่า ด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการผ่านเกณฑ์การประเมิน แยกเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้ ด้านนักเรียน (S Students) ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ มีการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนเรียนรวม ด้านการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน รองลงมาได้แก่ มีการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนเรียนรวม โดยกระตุ้นพัฒนาการในส่วนที่เหลืออยู่ ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และมีการเตรียมทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเพื่อให้นักเรียนเรียนรวม สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด ตลอดจนอยู่ร่วมกับนักเรียนทั่วไปได้อย่างปกติสุข ด้านสิ่งแวดล้อม (E Environment) ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ครูทั่วไปและครูการจัดการศึกษาพิเศษเป็นที่ปรึกษาซึ่งกันและกัน มีความร่วมมือการจัดการเรียนรวมโดยการทำงานเป็นทีม รองลงมาได้แก่ มีการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรวมแก่ ครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง และบุคคลที่เกี่ยวข้อง และมีการปรับสภาพแวดล้อมนอกอาคาร ได้แก่ ตัวอาคาร ทางเข้า ทางข้าม ต้นไม้ เป็นต้น ให้มีความเหมาะสมกับนักเรียนเรียนรวม ตามลำดับ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (A Activities) ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ มีการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) รองลงมาได้แก่ โรงเรียนรับนักเรียนเข้าเรียน คัดกรองนักเรียนตามประเภทความต้องการจำเป็นพิเศษ และส่งต่อนักเรียนเข้ารับการศึกษาตามความสามารถ และความต้องการจำเป็นของแต่ละบุคคล และมีการจัดทำแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) ตามลำดับ ด้านเครื่องมือ (T Tools) ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนโดยครูการศึกษาพิเศษ หรือผู้ที่ได้รับการอบรมตามหลักสูตรที่กระทรวงกำหนด รองลงมาได้แก่ มีการแจ้งข้อมูลเพื่อรับการจัดสรรคูปองการศึกษาได้อย่างครบถ้วนตามความจำเป็นของนักเรียนเรียนรวม และมีการกำหนดนโยบายเพื่อกำหนดทิศทางในการปฏิบัติงานและการให้บริการที่ชัดเจน ตามลำดับ
4. ผลผลิตของโครงการ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน ผลการประเมินตามเกณฑ์ปรากฏว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้ ด้านความรู้ ความสามารถในการจัดการเรียนรวมของผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม ข้อที่มีความคิดเห็นเฉลี่ยมากที่สุด ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการ และครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมเพิ่มขึ้น รองลงมาได้แก่ ครูผู้สอนสามารถดูแลช่วยเหลือ และเสริมสร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับนักเรียนเรียนรวมได้อย่างมีคุณภาพ และครูผู้สอนมีทักษะในการสื่อสารกับนักเรียนเรียนรวมได้ดีขึ้นตามลำดับ ด้านด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรียนรวม พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเรียนรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมิน ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ ยกเว้น นักเรียนเรียนรวมได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนครบตามหลักสูตรตามศักยภาพของแต่ละบุคคล อยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับค่าเฉลี่ยผลการประเมินจากมากไปน้อย ดังนี้ นักเรียนเรียนรวมมีพัฒนาการดีขึ้นตามศักยภาพของแต่ละบุคคล นักเรียนเรียนรวมมีผลการเรียนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เรียน และนักเรียนรวมมีการอ่าน การเขียนและการคิดคำนวณดีขึ้น ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1) อยากให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นระดับโรงเรียน เขตพื้นที่ หรือหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กที่ความต้องการพิเศษ
2) โรงเรียนควรประสานกับศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเชียงราย ในการคัดกรองนักเรียนเพื่อความถูกต้องแม่นยำ
3) หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม และให้ความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
4) หน่วยงานต้นสังกัด ควรสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ได้รับในปัจจุบันและจากงบประมาณของโรงเรียนซึ่งยังไม่เพียงพอ ตลอดจนจัดหาครูพี่เลี้ยง และอุปกรณ์ช่วยเหลือสนับสนุนต่าง ๆ เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่มีความทันสมัย สะดวก รวดเร็ว และมีจำนวนเพียงพอ
5) โรงเรียนควรเน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ประสานงานกับชุมชนและหน่วยงาน องค์กรอื่นๆ เพื่อแสวงหางบประมาณสำหรับใช้จ่ายในการจัดการเรียนรวมเพิ่มเติมจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานต้นสังกัด
6) ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการประสานงานกับผู้บริหารสถานศึกษาดีอยู่แล้ว ควรมีการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในการให้การดูแลเด็กและให้คำแนะนำปรึกษาแก่ครูผู้เกี่ยวข้อง
7) มีการจัดสถานที่ สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อนักเรียนที่ความต้องการพิเศษดีอยู่แล้ว ควรดำเนินการปรับปรุง ดูแลรักษาให้ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับความบกพร่องของนักเรียนแต่ละประเภท
8) โรงเรียนควรจัดการประชุมให้ความรู้กับผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษแต่ละประเภทอย่างต่อเนื่องโดยการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
1) ควรมีการประเมินโครงการโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม โดยเปรียบเทียบกับทุกโรงเรียน
ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 1 และต่างเขตพื้นที่การศึกษาที่มีการจัดการเรียนการสอนเรียนรวม
3) ควรมีการเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู
ผู้รับผิดชอบโครงการ ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการและครูผู้สอนนักเรียนเรียนรวม ทั้งในโรงเรียนและกับโรงเรียนอื่นที่จัดการเรียนการสอนเรียนรวม
4) ควรมีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินโครงการโรงเรียนต้นแบบการ
เรียนรวมเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานโครงการให้เกิดประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลมากที่สุด