การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านทอนหาน ปีการศึกษา 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมินเกี่ยวกับความสำเร็จของการดำเนินงาน ได้แก่ ผลสำเร็จของการดำเนินงานโครงการความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อการดำเนินงานโครงการ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ ทั้งสิ้นจำนวน 79 คน ประชากรศึกษาจากจำนวนครูทั้งหมด 8 คน และกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย นักเรียนจำนวน 32 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 32 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยกเว้นผู้บริหารและผู้แทนครู จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ รวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (MU, X-Bar ) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Sigma, S.D.)
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ
1.1 ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ตามความคิดเห็นของครู พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (MU=4.55, Sigma=0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
1.2 ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อม ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-Bar =4.56, S.D.=0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ
2.1 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (MU=4.51, Sigma=0.53) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
2.2 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X-Bar =4.54, S.D.=0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ
3.1 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (MU=4.63, Sigma=0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.2 ผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-Bar=4.62, S.D.=0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ
4.1 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ
4.1.1 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-Bar=4.69, S.D.=0.46) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.2 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (MU=4.74, Sigma=0.44) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.3 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-Bar=4.66, S.D.=0.47) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.1.4 ผลการประเมินความสำเร็จที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-Bar=4.66, S.D.=0.48) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ
4.2.1 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-Bar=4.64, S.D.=0.48) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2.2 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (MU=4.76, Sigma=0.43) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2.3 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด ( X-Bar=4.63, S.D.=0.49) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2.4 ผลการประเมินความพึงพอใจที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับ มากที่สุด ( X-Bar=4.63, S.D.=0.47) และผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรนำผลการประเมินโครงการมาวิเคราะห์หาจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนา เพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางในการพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ เพราะจะทำให้รู้ทิศทางของการพัฒนาในแต่ละด้าน เกิดความคล่องตัวในการประสานงานกับทุก ๆ ฝ่าย และจะทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
2. ควรพัฒนาสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ให้นักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มุ่งพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
3. ควรนำผลการประเมินไปใช้ เพื่อนำไปวางแผนการยกระดับคุณภาพทางการศึกษา ของสถานศึกษาต่อไป
ข้อเสนอแนะในการประเมินครั้งต่อไป
1. การประเมินโครงการพัฒนาสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ในครั้งต่อไป ควรเพิ่มประเด็นและด้านของการประเมินให้มากขึ้น มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมเพิ่มขึ้น โดยให้ทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วม มีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
2. ควรมีการประเมินโครงการต่าง ๆ ของโรงเรียน ในระดับงานหรือกลุ่มงานย่อยทุกโครงการ โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินอื่นที่เหมาะสม และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. ควรศึกษางานวิจัยและการประเมินโครงการอื่น ๆ นำมาประยุกต์ใช้ในครั้งต่อไป เพื่อให้การดำเนินโครงการมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา