ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
ผู้ประเมิน นายธเนตร มีรัตน์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา
หน่วยงาน โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย มีวัตถุประสงค์ของการประเมิน 1) เพื่อประเมินการดำเนินงานโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และส่วนขยายผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน ด้านการถ่ายโยงความรู้ 2) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอ โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 3) เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 32 คน นักเรียน จำนวน 706 คน และผู้ปกครอง จำนวน 706 คน รวมประชากรทั้งสิ้น 1,445 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า
1. ผลการประเมินโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 2 ด้าน และระดับมาก 6 ด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านกระบวนการ 2) ด้านผลผลิต 3) ด้านปัจจัยนำเข้า 4) ด้านบริบท 5) ด้านประสิทธิผล 6) ด้านผลกระทบ 7) ด้านความยั่งยืน 8) ด้านการถ่ายโยงความรู้ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 ด้านบริบท (Context) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รองลงมาคือ กิจกรรมตามโครงการสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ และสถานศึกษามีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม โครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education สู่การปฏิบัติ
1.2 ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจ การดำเนินงานเกี่ยวกับโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education รองลงมาคือ ผู้บริหารอำนวยความสะดวก ปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยต่าง ๆ ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติ และวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้เพียงพอในการดำเนินงานโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education
1.3 ด้านกระบวนการ (Process) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน และระดับมาก 1 ด้าน เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านการดำเนินงาน (Do) 2) ด้านการวางแผน (Plan) 3) ด้านการตรวจสอบ (Check) 4) ด้านการปรับปรุง (Action)
1.4 ด้านผลผลิต (Product) โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ STEM Education รองลงมาคือ ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอน STEM Education ได้อย่างมีคุณภาพ และนักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และผลการประเมินในส่วนขยายด้านผลผลิต รายละเอียดดังนี้
1.4.1 ด้านผลกระทบ (Impact) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ตะหนักถึงความสำคัญในการจัดการเรียนการสอน STEM Education รองลงมาคือ นักเรียนเห็นถึงความสำคัญในการเรียนรู้ STEM Education และสถานศึกษาได้รับการยอมรับและเชื่อมั่นในการจัดการศึกษา
1.4.2 ด้านประสิทธิผล (Effectiveness) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ โครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education สามารถพัฒนานักเรียนด้านการเรียนรู้ตามกระบวนการได้อย่างมีคุณภาพ รองลงมาคือ โครงการสามารถพัฒนาครูผู้สอนด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education ได้อย่างมีคุณภาพ และครูผู้สอน นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในการเรียนการสอน STEM Education เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.4.3 ด้านความยั่งยืน (Sustainability) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนและนักเรียนพร้อมให้ความร่วมมือดำเนินโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการต่อไป รองลงมาคือ รูปแบบโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education มีความเหมาะสมกับการบริหารจัดการศึกษา และโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา
1.4.4 ด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability) โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ครูผู้สอน สามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education ไปสู่เพื่อนครูได้ รองลงมาคือ นักเรียนสามารถถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้สู่บุคคลอื่นได้ และสถานศึกษาประชาสัมพันธ์โครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education ให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบด้วยวิธีการที่หลากหลาย
2. ผลการสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ นักเรียนมีความสุขในการเรียนรู้ STEM Education รองลงมาคือ ครูผู้สอนสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ STEM Education ด้วยตนเอง และนักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
3. ผลการสอบถามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินงานโครงการการบริหารโรงเรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน STEM Education โรงเรียนเซิมพิทยาคม อำเภอ โพนพิสัย จังหวัดหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก และในภาพรวมผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ เรียงตามค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ รองลงมาคือ ผู้ปกครองร่วมชื่นชมการแสดงผลงาน การจัดกิจกรรมตามโครงการ และการดำเนินงานตามโครงการ มีความคุ้มค่าและส่งผลดีต่อนักเรียน