บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน
เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงทดลอง ที่มีการออกแบบแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน
(One group Pretest-Posttest design) กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกอตอตือร๊ะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำนวน 33 คน ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกห้องเรียนแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 20 แผน ใช้เวลาในการศึกษา 20 ชั่วโมง และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพร กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ (งานเกษตร) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติขั้นพื้นฐาน ได้แก่ จำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (μ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) เปรียบเทียบผสัมฤทธิ์ทางการเรียน
(t-test for dependent sample) ผลการศึกษา ดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.55/81.11 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกอตอตือร๊ะ ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การปลูกพืชสมุนไพร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด