ชื่องานวิจัย การพัฒนาโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563-2564
ผู้วิจัย นางสาวนันทรัตน์ ไพรัตน์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพัทลุง
ปีการศึกษา 2563-2564
บทคัดย่อ
การพัฒนาโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 -2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อพัฒนาโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 2564 2. เพื่อศึกษาคุณภาพของโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 2564 3. เพื่อศึกษาคุณลักษณะของครูโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 2564 4. เพื่อศึกษาคุณลักษณะ ของนักเรียนโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 2564 5. เพื่อศึกษาผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อนักเรียน ครู และโรงเรียนในการพัฒนาโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย นักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 278 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 285 คน ครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 44 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 41 คน ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 278 คน และปีการศึกษา 2564 จำนวน 285 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 2564 จำนวน 13 คน และเครือข่ายชุมชนการศึกษา 2563 2564 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมทั้งสิ้น 5 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามจำนวน 4 ฉบับ และแบบบันทึกจำนวน 1 ฉบับ มีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ทุกฉบับได้ค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.973 - 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลการพัฒนาโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =3.80, S.D.= 0.58) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( =4.02, S.D.= 0.58) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ( =3.80, S.D.= 0.73) กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =3.71, S.D.= 0.48) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =3.65, S.D.= 0.51)
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, S.D.= 0.49) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D.= 0.46) รองลงมาได้แก่ กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D.= 0.48) กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.59, S.D.= 0.50) ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D.= 0.48) สอดคล้องกับสมมติฐาน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับคุณภาพโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =4.03, S.D.= 0.42) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( =4.22, S.D.= 0.44) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =4.20, S.D.= 0.47) กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =3.96, S.D.= 0.38) ส่วนกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =3.88, S.D.= 0.36)
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.63, S.D.= 0.48) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, S.D.= 0.47) รองลงมาได้แก่ กลุ่มนักเรียน ผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.61, S.D.= 0.49) กลุ่มครู มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.= 0.49) สอดคล้องกับสมมติฐาน
3. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะของครู โรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =4.20, S.D.=0.43) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( =4.21, S.D.= 0.44) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีคุณภาพ อยู่ในระดับมาก ( =4.20, S.D.= 0.45) กลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =4.20,S.D.= 0.41)
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมทุกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, S.D.=0.47) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.70, S.D.= 0.46) รองลงมาได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, S.D.= 0.48) กลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.66, S.D.= 0.47) และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.65, S.D.= 0.48) สอดคล้องกับสมมติฐาน
4. สรุปผลวิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะของนักเรียน โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ตามความคิดเห็นของครู หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563 2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.04, S.D.= 0.54) และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า มโนสุจริต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D.= 0.51) รองลงมาได้แก่ วจีสุจริต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D.= 0.50) และกายสุจริต มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =3.99, S.D.= 0.58)
ปีการศึกษา 2564 โดยภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.68 , S.D.= 0.47) และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการ พบว่า กายสุจริต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.73, S.D.= 0.44) รองลงมาได้แก่ วจีสุจริต มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.68, S.D.= 0.47) และมโนสุจริต มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ( =4.63, S.D.= 0.48) มีการพัฒนาสูงกว่า ปีการศึกษา 2563 ทุกด้าน สอดคล้องกับสมมติฐาน
5. สรุปผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อนักเรียน ครู และโรงเรียนในการพัฒนาโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ หลังการพัฒนา
ปีการศึกษา 2563 ผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อนักเรียน อาทิ ได้รับรางวัลเด็กและเยาวชนดีเด่นแห่งชาติ ได้รับรางวัลโครงงานคุณธรรม ปณิธานความดี ทำดีเริ่มได้ที่ใจเรา เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระ ปิยมหาราช เรื่อง ขยะเพื่อสี ทำดีเพื่อแผ่นดิน : Eco friendly bottles ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ การประกวดสื่อสร้างสรรค์ต้านทุจริต : สื่อภาพยนตร์สั้น ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผ่านการคัดเลือกเข้ารอบรองชนะเลิศ ระดับประเทศ การประกวดการต่อต้านการทุจริตผ่านศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อครู อาทิ ได้รับโล่รางวัลครูดีไม่มีอบายมุข ครูจำนวน ๓๓ คน ได้รับเกียรติบัตร รางวัล ครูดีไม่มีอบายมุข ผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อโรงเรียน อาทิ ได้รับรางวัล หนึ่งโรงเรียน หนึ่งนวัตกรรม ระดับเหรียญเงิน เรื่องการจัดการโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL Model ระดับภูมิภาค ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่จัดกิจกรรมเชิงบวกได้น่าสนใจและสามารถเป็นแบบอย่าง ด้านความปลอดภัย ได้รับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับเงิน ได้รับรางวัล โรงเรียนต้นแบบด้านการประกันภัย ระดับประเทศ
ปีการศึกษา 2564 ผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อนักเรียน อาทิ ได้รับรางวัล นักเรียนพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับรางวัล ระดับพลอย โครงการสร้างเด็กและเยาวชนต้นแบบ รู้ รัก สามัคคี และสำนึกความเป็นไทย (เด็ก อวด ทำดี) ผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อครู อาทิ ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 2 ระดับมัธยมศึกษา การประกวดสื่อนวัตกรรมสร้างสรรค์ การจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ : ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ตามโครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ได้รับรางวัลครูดีของแผ่นดิน ผลกระทบเชิงบวกที่ปรากฏต่อโรงเรียน อาทิ โรงเรียนได้รับรางวัล สถานศึกษารางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประเภทสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ขนาดกลาง ได้รับการยกย่อง เป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ ตามโครงการส่งเสริมชุมชน องค์กร อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม ภายใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฉบับที่ ๑ ได้รับรางวัลระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ระดับทอง ได้รับการคัดเลือกในระดับดีมาก โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ได้รับรางวัล ชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษา การประกวดนวัตกรรมหรือวิธีปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ เสริมความเป็นพลเมืองดี ตามโครงการสร้างและส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีตามรอยพระยุคลบาทด้านการศึกษาสู่การปฏิบัติ ได้รับรางวัล โรงเรียนน่าอยู่น่าเรียนรู้ ระดับดีเด่น และโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ของหน่วยงานทางการศึกษาอื่น สอดคล้องกับสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัยการพัฒนาโรงเรียนช่อสะอาดต้านทุจริต โดยใช้ MORAL MODEL โรงเรียนหารเทารังสีประชาสรรค์ ปีการศึกษา 2563 -2564 ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่น ของกระบวนการดำเนินงานที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาความเป็นคนดีของนักเรียนต่อไป
ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
1. M = Make awareness (ปลูกฝัง) เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ที่ส่งเสริมให้นักเรียนปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรมหรือแสดงออกอย่างซื่อสัตย์สุจริต ไม่เอาเปรียบผู้อื่น การยึดมั่นในความสัตย์จริงและในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม มีความซื่อตรง และการมีเจตนาที่บริสุทธิ์ ปฏิบัติตนเป็นที่น่าเชื่อถือและรู้จักแยกแยะประโยชน์ส่วนตนและส่วนรวม เป็นการสร้างคุณธรรมพื้นฐานที่ละเอียดรอบคอบที่จะสามารถพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้หลากหลายด้านทั้งด้านความรู้ควบคู่กับคุณธรรม ในอนาคตการนำกิจกรรมต่างๆไปดำเนินการควรมีการวางแผน ศึกษา ผลกระทบ หรือผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นอย่างสมเหตุสมผล เพื่อให้แต่ละองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันทุกมิติเกิดประสิทธิผลอย่างเหมาะสม
2. O = On protection (ป้องกัน) เนื่องจากการจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการป้องกันสามารถช่วยลดปัญหาด้านการทุจริตคอร์รัปชันได้เป็นอย่างดี จึงควรส่งเสริมให้นักเรียนมีองค์ความรู้ เข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการทุจริตคอร์รัปชัน และสามารถนำองค์ความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง และสามารถมีโอกาสในการถ่ายทอดองค์ความรู้ พร้อมพฤติกรรมเชิงบวกที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่นได้ เพื่อให้มีแนวทางในการป้องกันและต่อต้านการทุจริตอย่างยั่งยืน
3. R = Real network (ประสาน) เนื่องจากกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ได้มุ่งส่งเสริมไปสู่ความร่วมมือกับองค์กร หน่วยงานต่างๆ ในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน การขับเคลื่อนกิจกรรมต่อต้านการทุจริตคอร์รับชัน จึงต้องสร้างความตระหนัก เห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการต่อต้านการทุจริต เน้นให้ทุกภาคส่วนตื่นตัว ไม่นิ่งเฉย ผ่านกิจกรรมการมีส่วนร่วมในการรณรงค์ และเพิ่มการรับรู้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น มีแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ที่สามารถขยายผลไปสู่ระดับประเทศ
4. A = Aspiration (ปณิธาน) เนื่องจากกิจกรรมนี้มุ่งส่งเสริมมีความยึดมั่นในความสัตย์จริงและในสิ่งที่ถูกต้องดีงาม มีความซื่อตรง มีเจตนาที่บริสุทธิ์ ไม่ทุจริตคอร์รับชัน และไม่เพิกเฉยต่อการทุจริตคอร์รับชัน โรงเรียนจำเป็นต้องมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการวางรากฐานให้กับรุ่นต่อๆไป อันจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อตนเองและแก่สังคมส่วนรวมในอนาคตข้างนอกไม่ให้ขาดหายไป
5. L = Laudability (ประกาศความดี) เนื่องจากกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้คนได้ตระหนักในการทำความดี ซึ่งสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมอื่นๆร่วมด้วย นอกเหนือจากความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นพื้นฐานในการทำความดีอื่นๆต่อยอดออกไป การมีต้นแบบในการทำความดี ผ่านการประพฤติปฏิบัติ ไม่ควรละเลยในการยกย่องคนดีอย่างสม่ำเสมอให้เกิดความภาคภูมิใจ เสริมกำลังใจในการสร้างสรรค์ความดี ซึ่งการเป็นต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ จะช่วยให้เกิดการปฏิบัติตนตามๆกัน กลายเป้นการสร้างค่านิยมที่ดีงามให้แก่สังคมที่จะตามติดการดำเนินชีวิตไปตลอด ภายใต้การเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
1. ควรมีการยกระดับการศึกษาปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลต่อการเป็นพัฒนาโรงเรียนในการสร้างคนดีสู่ความยั่งยืน
2. ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน สภาพแวดล้อมของบ้าน ชุมชน วัด และหรือมัสยิด ในบริบทใกล้เคียงกับโรงเรียน เพื่อความร่วมมือกันยกระดับมาตรฐานของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาความเป็นคนดีมีคุณธรรม
3. ควรศึกษาผลกระทบทางบวกของการเป็นคนดีของนักเรียนที่เป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นที่มีต่อชุมชนและสังคมโดยรอบโรงเรียน และสามารถนำเป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่นๆได้