รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : กรณีศึกษาโรงเรียนชัยสิทธาวาส พัฒน์ สายบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
THE INNOVATIVE ORGANIZATION MODEL IN THE SECONDARY SCHOOLS UNDER THE BASIC EDUCATION COMMISSION ; A CASE STUDY OF CHAIYASITTHAWAT PAT SAIBUMRUNG SCHOOL IN THE SECONDARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE PATHUM THANI
ชนัญชิดา ม่วงทอง
ผู้อำนวยการโรงเรียน
Chananchida Muangthong
School Director
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม โดยใช้การสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากข้อมูลเชิงประจักษ์ของสถานศึกษาต้นแบบ ในการสร้างรูปแบบและพัฒนารูปแบบโดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย และ 2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ของโรงเรียนชัยสิทธาวาส พัฒน์สายบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วมและการประเมินความเหมาะสม ความพึงพอใจ ตลอดจนผลเชิงประจักษ์ที่เกิดจากการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และนักเรียน สรุปผลวิจัยดังนี้
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรม ประกอบด้วย 2 มิติ คือ 1) มิติด้านองค์ประกอบของการเป็นองค์การนวัตกรรมในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1.1) การกำหนดเป้าหมาย 1.2) การทำความเข้าใจร่วมกัน 1.3) การเปลี่ยนแปลง 1.4) การปรับพฤติกรรมการทำงาน 1.5) การพัฒนาการเรียนการสอน 1.6) สร้างบรรทัดฐานการทำงาน 1.7) การประเมินผล และ 2) มิติการขับเคลื่อนองค์การ ประกอบด้วย 2.1) การใช้กระบวนการชุมชนทางวิชาชีพ (PLC) และ 2.2) การใช้ระบบบริหารเชิงคุณภาพ (PDCA) การพัฒนารูปแบบด้วยเทคนิคแบบเดลฟาย (3 รอบ)โดยผู้เชี่ยวชาญ มีค่ามัธยฐาน (Mdn) มากกว่า 3.50และพิสัยควอไทล์ (IR) น้อยกว่า 1.50 ทุกประเด็นการพิจารณา และผลการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่องค์การนวัตกรรมของโรงเรียนชัยสิทธาวาส พัฒน์สายบำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี พบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้องโดยรวมในระดับมาก และส่งผลให้สถานศึกษามีผลงานเชิงประจักษ์และได้รับรางวัลด้านนวัตกรรมในระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับประเทศ
คำสำคัญ รูปแบบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา องค์การนวัตกรรม โรงเรียนชัยสิทธาวาส พัฒน์สายบำรุง
Abstract
The purposes of this research were to; 1) Studied model of the secondary schools administrative to Innovation Organization and development on the secondary school, under the Basic Education Commission , By literature reviews, research related and empirical data from the schools were success and model development by Delphi technique. And 2) Evaluated the model was implementation of the Chaiyasitthawat "Pat Saibamrung" school under the
secondary school Pathum Thani service area. By the cooperative research and evaluation on suitability and satisfaction evaluated of the administrators, teachers, parents and students. The data were collected by the interviewers form and the
questionnaires. The results as followed;
The model of the secondary schools administrative to Innovation Organization and development on the secondary school under the Basic
Education Commission were 2 dimensions; 1) Dimension on component of administrative school which composts on 1.1)Target Cleary,1.2) Understanding
together, 1.3) Reform, 1.4) Behavioral change, 1.5) Instructional development, 1.6) New normal and 1.7) Evaluation and 2) Dimension on organizational driven were by The Professional Learning Community (PLC) and Quality cycle management system (PDCA). The model confirmation with the professional
commented by the 3 rounds of Delphi technique research.( Mdn > 3.50, IR < 1.50). And the suitable for school implemented model were at high level, and the result of model were satisfied evaluation by the stakeholders were at high level, Moreover, there were innovation reward more too.
Keywords: School administrative model Innovative Organization Chaiyasitthawat "Pat Saibamrung" school