ชื่อเรื่อง รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติโดยใช้รูปแบบ 4 T Model โรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2
ชื่อผู้วิจัย นางรมิตา สีมาพล
ปีที่ทำวิจัย 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติโดยใช้รูปแบบ 4 T Model โรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 และ 3) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติโดยใช้รูปแบบ 4 T Model ของโรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 และ 4) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติโดยใช้รูปแบบ 4 T Model โรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 ผู้วิจัยใช้ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทที่ 2 มาเป็นแนวทางเพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย สร้างเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งการสร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติโดยใช้รูปแบบ 4 T Model โรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 การวิจัยครั้งนี้
เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาและสังเคราะห์องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 2 ระยะที่ 3 สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ โดยใช้รูปแบบ 4 T Model โรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 2 และระยะที่ 4 ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติโดยใช้รูปแบบ 4 T Model โรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติ พบว่ามี 6 องค์ประกอบ คือ (1) การศึกษาและกำหนดความต้องการการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (2) การวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (3) การพัฒนาครูและบุคลากร (4) การสร้างทีมงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (5) การจัดการเรียนการสอน และ (6) การกำกับ ติดตามและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน ซึ่งทั้ง 6 องค์ประกอบมีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยรวม
อยู่ในระดับ มากที่สุด (X = 4.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การศึกษาและกำหนดความต้องการการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน การวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการจัดการเรียนการสอน (X =5.00) รองลงมา คือ การสร้างทีมงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (X =4.80) ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การพัฒนาครูและบุคลากร (X =4.60)
2. สภาพปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X = 2.81) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทุกองค์ประกอบซึ่งองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (X =2.89) รองลงมา คือ การศึกษาและกำหนดความต้องการการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (X =2.84)ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การกำกับ ติดตามและประเมินผล เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(X =2.73) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X=4.74) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ
ซึ่งองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การสร้างทีมงานพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (X=4.79) รองลงมา คือการจัดการเรียนการสอน (X =4.78) ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การศึกษาและกำหนดความต้องการการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (X = 4.69) เมื่อพิจารณาตามค่าความต้องการจำเป็น พบว่า องค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การกำกับ ติดตามและประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (PNImodified=0.74) รองลงมา คือ การจัดการเรียนการสอน (PNImodified =0.73) ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าความต้องการจำเป็นต่ำสุด คือ การวางแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (PNImodified =0.62)
3. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมาเขต 2 คือ รูปแบบ 4T Model ประกอบด้วย T1 (Target) การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน T2 (Training) การพัฒนาครู บุคลากรเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน T3 (Teaching) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และT4 (Test) การตรวจสอบเพื่อปรับปรุงกิจกรรม การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 มีความเหมาะสมตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X =4.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุดทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ T2 (Training) การพัฒนาครูและบุคลากร เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (X =4.80) รองลงมา คือ T3 (Teaching) การจัดกิจกรรมการเรียน การสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (X =4.75) ส่วนองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ T4 (Test) การตรวจสอบเพื่อปรับปรุงกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน (X =4.70)
4.ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของโรงเรียนบ้านบุกระโทก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2 พบว่า ค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Ordinary National Education Test : O-NET) โดยรวมปีการศึกษา 2563 เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2562 พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติสูงกว่าระดับชาติ และเพิ่มขึ้นจำนวน 4 วิชา คือ ปีการศึกษา 2563 วิชาภาษาไทย คะแนนเฉลี่ย 74.92 ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ย 53.86 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.06 วิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ย 41.67 ปีการศึกษา
2562 คะแนนเฉลี่ย 36.07 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 คือ วิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ย 52.33 ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ย 36.36 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.97 วิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ย 54.17 ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ย 29.11 เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.06 และค่าคะแนนตามลำดับ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (Ordinary National Education Test : O-NET) โดยรวมปีการศึกษา 2563 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ และค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (Ordinary National Education Test : O-NET) โดยรวมปีการศึกษา 2563
มีค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติสูงกว่าระดับประเทศ 2 วิชาแต่ลดลงจากปีการศึกษา 2562 จำนวน 4 รายวิชา คือ ปีการศึกษา 2563 วิชาภาษาไทย คะแนนเฉลี่ย 68.75 ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ย 72.60 ลดลงร้อยละ3.85 วิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ย 28..00 ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ย 43.20 ลดลงร้อย 15.2 วิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ย 25.50 ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ย 26.40 ลดลงร้อยละ 0.9 วิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 คะแนนเฉลี่ย 23.75 ปีการศึกษา 2562 คะแนนเฉลี่ย 36.80 ลดลงร้อยละ 13.05 ตามลำดับ ซึ่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (Ordinary National Education Test : O-NET) โดยรวมปีการศึกษา 2563 โดยรวมมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าระดับประเทศ