บทสรุป
ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยของนักเรียน
โรงเรียนบ้านสี่แยก
ผู้ประเมิน นางสาวลัดดาพรรณ จันทร์ปรีดา
ปีการศึกษา 2561
รายงานการประเมินโครงการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยของนักเรียนโรงเรียน บ้านสี่แยก
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ประเมินผลผลิต (Products Evaluation) 5) ประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation) 6) ประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) 7) ประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) และ 8) ประเมินการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation) ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านสี่แยก จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 13 และชั้นประถมศึกษาที่ 1-6 จำนวน 64 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 40 คน อาสาสมัครอนามัยหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 16 คน กลุ่มประชากรในการประเมินโครงการ ได้แก่ ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านสี่แยก จำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 64 คน นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 40 คน อาสาสมัครอนามัยหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 16 คน รวมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 134 คน ระยะเวลาดำเนินการประเมินโครงการ ปีการศึกษา 2560-2561 แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์ ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 7 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน อาสาสมัครอนามัยหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 16 คน
2) กลุ่มที่ให้ข้อมูลตามแบบสอบถามความคิดเห็น ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นอนุบาล 1-3 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 64 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน มี 3 ประเภท ได้แก่ 1) แบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ (Checklist) 2) แบบการสัมภาษณ์ และ 3) แบบสอบถาม ความคิดเห็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
สรุปผลการประเมิน
การประเมินโครงการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยของนักเรียนโรงเรียน บ้านสี่แยก ใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPIEST MODEL ใน 8 ด้าน ผู้ประเมินได้สรุปผลการประเมินดังนี้ การประเมินบริบท (Context Evaluation) สรุปผลการสัมภาษณ์ ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก การประเมินปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) สรุปผลการสัมภาษณ์ ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) สรุปผลการสัมภาษณ์ ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) อยู่ในระดับมากที่สุด การประเมินผลผลิต (Products Evaluation) สรุปผลการประเมินโครงการจากการสอบถามความคิดเห็นของ
-2-
ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นในการประเมินความความเหมาะสมในการประเมิน
ผลผลิตของการจัดกิจกรรมโครงการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านสี่แยก
ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยของนักเรียนโรงเรียนบ้านสี่แยก ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน
ที่มีต่อโครงการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพและอนามัย ของนักเรียนโรงเรียนบ้านสี่แยก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การประเมินด้านผลกระทบ (Impact Evaluation) สรุปผลจากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน
ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การประเมินด้านประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) สรุปผลจากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การประเมินด้านความยั่งยืน (Sustainability Evaluation) สรุปผลการประเมินโครงการจากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอน ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
และการประเมินด้านการถ่ายโยงความรู้ (Transportability Evaluation) สรุปผลจากการสอบถามความคิดเห็น
ของครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
...............................