บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านอากาศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์
เพื่อประเมินความสอดคล้องด้านบริบท (Context) ความพร้อมและความพอเพียงด้านปัจจัยนำเข้า (Input)
การดำเนินการด้านกระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) ของโครงการในปีการศึกษา 2564
โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู คณะกรรมการสถานศึกษานักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และผู้ปกครอง รวมจำนวน 715 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ คือ แบบสอบถามความคิดเห็นจำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับที่ 1 แบบสอบถามบริบทของโครงการ จำนวน 12 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.45 0.90 ค่าความเชื่อมั่น 0.90 ฉบับที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยนำเข้าของโครงการ จำนวน 20 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.48 0.94 ค่าความเชื่อมั่น 0.92 ฉบับที่ 3
แบบสอบถามกระบวนการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.44 0.92
ค่าความเชื่อมั่น 0.88 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามผลผลิตของโครงการ ประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1
แบบสอบถามผลผลิตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน
จำนวน 25 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.46 0.88 ค่าความเชื่อมั่น 0.90 ตอนที่ 2 แบบสอบถามผลผลิต
ด้านคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน จำนวน 30 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.50 0.90 ค่าความเชื่อมั่น 0.94 ตอนที่ 3 แบบสอบถามด้านคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจาก
การดำเนินโครงการ จำนวน 26 ข้อ ค่าอำนาจจำแนก 0.48 0.88 ค่าความเชื่อมั่น 0.89 สถิติที่ใช้
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)
ผลการประเมินพบว่า
1. บริบทของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 9 ข้อ
และระดับมาก 3 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ กิจกรรมและการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ
ผลที่คาดว่าจะได้รับของโครงการมีความสัมพันธ์สอดคล้องและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และการดำเนินงาน
โครงการ
2. ปัจจัยนำเข้าของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
2 ด้าน และระดับมาก 2 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ คือ ด้านบุคลากร
ด้านโครงสร้างบริหารงานโครงการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ
ด้านวัสดุอุปกรณ์และอาคารสถานที่ ด้านงบประมาณ และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 12 ข้อ และ
ระดับมาก 8 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีโครงสร้างการบริหารงานโครงการ ประกอบด้วย
ผู้บริหารโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และพระสงฆ์ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
คือ มีการสนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมของโครงการจากหน่วยงานอื่น
3. กระบวนการดำเนินงานของโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน และระดับมาก 2 ด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับ
คือ ด้านการวางแผนการดำเนินงาน ด้านการดำเนินกิจกรรมโครงการ ด้านการนิเทศ ติดตาม กำกับ
การดำเนินงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านการปรับปรุงและพัฒนา
ด้านการประเมินผลและการเผยแพร่การดำเนินงาน และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 17 ข้อ และระดับมาก
9 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ จัดกิจกรรมโดยบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
คือ มีการรวบรวมข้อมูลการดำเนินกิจกรรมในโครงการอย่างเป็นระบบ
4. ผลผลิตของโครงการ ดังนี้
4.1 ผลผลิตด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 2 ด้าน โดยมีค่าเฉลี่ย
เรียงตามลำดับ คือ ด้านการดำเนินชีวิตอย่างพอประมาณ มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม ด้านมีภูมิคุ้มกัน
ในตัวที่ดี และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 18 ข้อ และ
ระดับมาก 7 ข้อ โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เหมาะสมกับโอกาสและกิจกรรม
ที่ทำ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีทักษะในการแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
4.2 ผลผลิตด้านคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับ
คือ ด้านความเพียร ด้านความรับผิดชอบ ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความอดทน ด้านความกตัญญู
ด้านความรอบคอบ ด้านความเสียสละ และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 32 ข้อ และระดับมาก 5 ข้อ
โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มุ่งมั่น บากบั่น เพียรพยายามในด้านการเรียนและการทำงานจนสำเร็จ
และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ระวังเหตุการณ์ข้างหน้าข้างหลังเสมอ ไม่เผอเรอ และไม่ประมาท
4.3 ผลผลิตด้านคุณค่าหรือประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการ
โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับ
คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการนำไปใช้ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมและศาสนา ด้านการได้รับรางวัล และ
เกียรติบัตร ด้านสิ่งแวดล้อม และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด 24 ข้อ และระดับมาก 2 ข้อ โดยข้อที่มี
ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนรู้จักใช้จ่ายอย่างประหยัด พอประมาณ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ
โรงเรียนปรับปรุงดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น