จากการดำเนินงานพัฒนาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละซูแม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ส่งผลให้นักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนมีระดับความพึงพอใจ ดังตารางต่อไปนี้
ตาราง ๑ แสดงความพึงพอใจของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละซูแม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1
ด้านที่ 1 ด้านอาคารสถานที่
ข้อที่ การดำเนินงานจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ S.D. ระดับความพึงพอใจ
1. ด้านอาคารสถานที่
1 ความพึงพอใจต่อการทาสีอาคารเรียนเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 4.75 0.53 มากที่สุด
2 ความพึงพอใจต่อการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดและน่าเรียน 4.60 0.70 มากที่สุด
3 ความพึงพอใจต่อการจัดทาสีใหม่และซ่อมแซมฝ้าเพดานของอาคารเอนกประสงค์/โรงอาหารเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 4.51 0.76 มากที่สุด
4 ความพึงพอใจต่อการจัดทาสีและจัดห้องสมุดใหม่เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 4.70 0.61 มากที่สุด
5 ความพึงพอใจต่อการปรับปรุงอาคารละหมาดเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 4.65 0.68 มากที่สุด
6 ความพึงพอใจต่อการจัดสร้างศาลาเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 4.66 0.69 มากที่สุด
รวมด้านที่ 1 ด้านอาคารสถานที่ 4.64 0.66 มากที่สุด
จากตาราง ๑ พบว่านักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละซูแม ในระดับมากที่สุด เมื่อมองรายด้านพบว่าด้าน ความพึงพอใจต่อการจัดทาสีและจัดห้องสมุดใหม่เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( = 4.๗0) ส่วนด้านความพึงพอใจต่อการจัดทาสีใหม่และซ่อมแซมฝ้าเพดานของอาคารเอนกประสงค์/โรงอาหารเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.๕๑)
ตาราง ๒ แสดงความพึงพอใจของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละซูแม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1
ด้านที่ 2 ด้านบริเวณโรงเรียน
ข้อที่ การดำเนินงานจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ S.D. ระดับความพึงพอใจ
1. ด้านบริเวณโรงเรียน
๗ ความพึงพอใจต่อการสร้างแผงเหล็กติดประกาศเพื่อประชาสัมพันธ์โรงเรียน 4.47 0.83 มาก
๘ ความพึงพอใจต่อการจัดสร้างประตูโรงเรียนเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 4.79 0.44 มากที่สุด
๙ ความพึงพอใจต่อการจัดสวนหย่อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศของนักเรียน 4.69 0.60 มากที่สุด
๑๐ ความพึงพอใจต่อการปรับปรุงที่ล้างจานเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 4.45 0.81 มาก
๑๑ ความพึงพอใจต่อการปรับปรุงกระบะต้นไม้เพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ 4.57 0.81 มากที่สุด
๑๒ ความพึงพอใจต่อจุดถ่ายภาพเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน 4.58 0.69 มากที่สุด
๑๓ ความพึงพอใจต่อการจัดทำและปรับปรุงป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ 4.34 0.76 มาก
รวมด้านที่ 2 ด้านบริเวณโรงเรียน 4.56 0.71 มากที่สุด
จากตาราง ๒ พบว่านักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละซูแม ในระดับ มากที่สุด เมื่อมองรายด้านพบว่าด้าน ความพึงพอใจต่อจุดถ่ายภาพเพื่อให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ( = 4.๕๘) ส่วนความพึงพอใจต่อการจัดทำและปรับปรุงป้ายประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ( = 4.4๓)
ผลที่ได้รับ
ผลที่ได้รับจากการพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านตะโละ ซูแม อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ ดังนี้
1. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
๑.๑ ผู้เรียนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
๑.๒ ผู้เรียนมีอาคารสถานที่ บริเวณโรงเรียน ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๑.๓ ผู้เรียนมีสุขภาพกาย และจิตที่ดี
๑.๔ ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่เรียนรู้ และมีความสุขกับการเรียนรู้
๑.๕ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความคิด จิตใจ และคุณธรรมต่าง ๆ อันพึงประสงค์ได้
๑.๖ ทำให้ครูและผู้เรียนเป็นคนละเอียดอ่อน จิตใจแจ่มใส รักสวยรักงาม รักความสะอาด รักความสงบ เรียบง่าย ทำให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่นไปด้วย
2. ผลที่เกิดขึ้นกับครูและบุคลากรทางการศึกษา
๒.๑ ทำให้ครูและผู้เรียนเป็นคนละเอียดอ่อน จิตใจแจ่มใส รักสวยรักงาม รักความสะอาด รักความสงบ เรียบง่าย ทำให้เข้าใจตนเอง และผู้อื่นไปด้วย
๒.๒ เสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนและการปฏิบัติหน้าที่การงานของทุกคนในสถานศึกษาช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนให้
เกิดผลสำเร็จทางการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์
๒.๓ ครูมีแรงจูงใจ และมีความสุขในการจัดการเรียนการสอน
๒.๔ ครูมีความรักและภาคภูมิใจในสถาบัน
๒.๕ ทำให้ทั้งผู้เรียนและผู้สอนสามารถใช้เป็นแหล่ง ดันคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ตลอดเวลาที่ต้องการ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. ผลที่เกิดขึ้นกับสถานศึกษา
๓.๑ มีสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม ปลอดภัยและน่าอยู่
๓.๒ มีแหล่งเรียนรู้ที่คอยสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูและนักเรียน
๓.๓ สนับสนุนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น
4. ผลที่เกิดขึ้นกับผู้ปกครองและชุมชน
๔.๑ ผู้ปกครองและชุมชนมีความเชื่อมั่นต่อโรงเรียน
๔.๒ ผู้ปกครองและชุมชนมีเจนคติที่ดี รักและหวงแหนต่อโรงเรียน
๔.๓ ผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุน และมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๔.๔ เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาโรงเรียน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อการนำไปใช้
1.1 การพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านตะโละซูแม อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ ได้ดำเนินการโดยใช้วงจรพัฒนาคุณภาพ เดมมิ่ง (PDCA) ดังนั้นควรนำผลในครั้งนี้ไปใช้ศึกษาบริบทและดำเนินการพัฒนาของโรงเรียน ชุมชน ว่ามีความคล้ายคลึงหรือแตกต่างจากครั้งนี้อย่างไร
1.2 การพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านตะโละซูแม อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ พบว่าผู้แทนครู ตัวแทนนักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นโรงเรียนควรมีการสร้างองค์ความรู้ให้กับครู บุคลากร นักเรียน ผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการดำเนินงานเพื่อโรงเรียนมีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ
1.3 การพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านตะโละซูแม อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ พบว่า ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม ขาดงบประมาณในการปรับปรุงบูรณะซ่อมแซม และจัดซื้อจัดหาสื่อวัสดุอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพราะต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาในสถานศึกษาเป็นภารกิจสำคัญประการหนึ่งของผู้บริหารสถานศึกษาเพราะทรัพยากรเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนควรสร้างศรัทธา ให้เกิดกับครู นักเรียน และชุมชน โดยแสดงความจริงใจและมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละและความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีงาม จะทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความศรัทธา เคารพนับถือ สามารถร่วมกันระดมทุนและทรัพยากรเพื่อการศึกษาได้อย่างเพียงพอในการดำเนินการ
1.4 ผลหลังจากการที่ร่วมกันพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านตะโละซูแม อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ ได้ดำเนินการให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ จึงสามารถระดมทรัพยากรได้เป็นจำนวนมาก จนสามารถการพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในโรงเรียน ทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้บริหารโรงเรียนควรพัฒนารูปแบบการพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โรงเรียนบ้านตะโละซูแม อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๑ เพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในด้านอื่นๆ ต่อไป เช่น การพัฒนางานวิชาการ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
2. ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาครั้งต่อไป
2.1 โรงเรียนควรทำการศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้กับการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
2.2 โรงเรียนควรมีการศึกษาในเรื่องการพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน
2.3 ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบกับโรงเรียนในสังกัดเดียวกันที่มีบริบทใกล้เคียงกัน เพื่อเป็นสารสนเทศในการนำมาพัฒนารูปแบบการพัฒนาภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้านอื่น ๆของโรงเรียนต่อไป