ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาประสิทธิภาพระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของโรงเรียน
ตะกั่วป่าเสนานุกูล โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง
ผู้ประเมิน : นายวรพล วัฒนพิชญพัชร รองผู้อำนวยการโรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล
หน่วยงาน : โรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง
ปีที่ดำเนินงาน : 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า
ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะปรับปรุงพัฒนาการ
ดำเนินงานของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล รูปแบบที่ใช้ในการ
ประเมิน คือ รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้
คือ ผู้บริหารและครูโรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล จำนวน 80 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 โรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล ปีการศึกษา 2564 จำนวน 391 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล ปีการศึกษา 2564 จำนวน 391 คน รวมกลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้น 862 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ และแบบบันทึก
จำนวน 2 ฉบับ รวม 6 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือ (validity) ใช้สูตร
IOC ใช้แอลฟาหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามโดยการหาค่าความเชื่อมั่นแบบ Alpha
Co-efficient ตามสูตรของครอนบัค
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านบริบทอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่าน
เกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับมากที่สุด 2 ตัวชี้วัด คือ ความต้องการจำเป็นของการดำเนิน
โครงการ (4.73) และความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ (4.70) และตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับมาก 1 ตัวชี้วัด คือ ความ
สอดคล้องกับนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (4.20)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก
ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดที่ได้ระดับมากทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ ความเหมาะสมของงบประมาณ
(4.33) ความเพียงพอของเอกสาร เครื่องมือในการดำเนินโครงการ (4.18) และความรู้ความเข้าใจของครูในการ
ดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4.16)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านกระบวนการผ่านเกณฑ์การ
ประเมินในระดับมาก 3 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ตัวชี้วัด คือ ความสามารถของครูในการ
ดำเนินงานโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4.43) การบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน (4.13)
และการนิเทศ กำกับ ติดตาม (3.81)
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า ผลการดำเนินโครงการด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุดผ่าน
เกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 6 ตัวชี้วัด คือ การดูแลช่วยเหลือด้านความ
ปลอดภัยภายในโรงเรียน(4.85) การดูแลช่วยเหลือติดตามด้านการเรียน(4.74) การช่วยเหลือดูแลเอาใจใส่จากครู
อย่างใกล้ชิดและทั่วถึง(4.72) นักเรียนรู้สึกมีความสุขในขณะที่อยู่โรงเรียน(4.62) และความพึงพอใจของผู้ปกครอง
ตัวชี้วัด 2 ตัวชี้วัด คือ การประสานงานความร่วมมือระหว่างครูและผู้ปกครองในการดูแลช่วยเหลือ(4.85) และมี
การจัดกิจกรรมป้องกัน แก้ไข ช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหา (4.79)
ผลการประเมินโครงการภาพรวม พบว่า ผลการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนตะกั่วป่า เสนานุกูล สำนักงานเขตพื้นการศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง อยู่ในระดับมากที่สุด
(ร้อยละ 86.80) ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ประเด็น ที่มีผลการประเมินตัวชี้วัดอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้าน
บริบทของโครงการ และด้านผลผลิต ส่วนตัวชี้วัดที่อยู่ในระดับมาก คือ ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ
สำหรับข้อเสนอแนะที่ได้จากการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนตะกั่วป่า
เสนานุกูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง ในครั้งนี้พบว่า
1) ข้อเสนอแนะของครู ได้แก่ ควรจัดอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครูและบุคลากร เกี่ยวกับงาน
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและงานให้คำปรึกษา โดยมีการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานระบบการ
ดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง รวมถึงการสร้างและสนับสนุนเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน
ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย และเหมาะสมกับบริบทในช่วงสถานการณ์การแพร่
ระบาดของโรคโควิด-19
2) ข้อเสนอแนะของนักเรียน ได้แก่ ครูควรจัดกิจกรรมที่หลากหลายและสอดคล้องตามความต้องการของ
ผู้เรียน ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมมากขึ้น โดยยึดหลักการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
3) ข้อเสนอแนะของผู้ปกครอง ได้แก่ ควรเปิดโอกาสให้ภาคีเครือข่ายผู้ปกครองเข้ามามีบทบาท และมี
ส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมดูแลช่วยเหลือนักเรียน และควรดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาในด้านต่างๆให้ทั่ว