การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนทับปุดวิทยา ปีการศึกษา 2564
มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนทับปุดวิทยา
2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนทับปุดวิทยา
3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน โรงเรียนทับปุดวิทยา
4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนทับปุดวิทยา
5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือ
นักเรียน โรงเรียนทับปุดวิทยา ตามรูปแบบการประเมินโดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ตามแนวคิดของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam)
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 313 คน
โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามแนวทางของ Krejcie and Morgan ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู นักเรียน คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนทับปุดวิทยา ปีการศึกษา 2564
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ประกอบด้วย
1) แบบประเมินด้านบริบท ซึ่งประเมินโดยผู้บริหาร
สถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.89
2) แบบประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ซ่งึ ประเมนิ โดยผู้บริหารสถานศึกษา ครู และคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.93
3) แบบประเมินด้านกระบวนการ ซึ่งประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.84
4) แบบประเมินด้านผลผลิต ซึ่งประเมินโดยผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.95
5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ซึ่งประเมินโดยนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ 0.92 และในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ก่อนดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนทับปุดวิทยา พบว่า ด้านบริบทของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เป็นสิ่งสำคัญและมีความจำเป็น สามารถส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ เกิดความคุ้มค่าผู้บริหารและครู มีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และมีการจัดองค์กรโครงสร้างการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ชัดเจน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.79 . S.D. = 0.58) สรุป มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ก่อนดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนทับปุดวิทยา พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนมีการจัดระเบียบสภาวะแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกให้มีความปลอดภัยและเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน สถาบันทางศาสนา ท้องถิ่น ชุมชน ผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรม และครูได้รับการพัฒนาให้สามารถดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59 . S.D. = 0.67) สรุป มีผลการประเมินผ่านเกณฑ ์
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ระหว่างดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนทับปุดวิทยา พบว่า ด้านกระบวนการของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ครูเยี่ยมบ้านนักเรียนครบทุกคน พร้อมทั้งให้คำปรึกษานักเรียนด้านต่าง ๆ และมีการจัดกิจกรรมแนะแนว การประชุมผู้ปกครองนักเรียน และผู้ปกครองเครือข่าย ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x" = 4.49 . S.D. = 0.51) สรุป มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) หลังดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนทับปุดวิทยา พบว่า ด้านผลผลิตของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน นักเรียนเรียนรู้อย่างมคี วามสุขและพึงพอใจกับความสำเร็จของตนเอง ไม่เสพสิ่งเสพติด ไม่ยุ่งเกี่ยว และไม่แสวงหาผลประโยชน์จากสิ่งเสพติด ได้รู้จักตนเอง สามารถปรับตัวมีทักษะทางสังคและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.59 . S.D. = 0.57) สรุป มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนทับปุดวิทยา ระหว่างดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนทับปุดวิทยา พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนของครู การดูแลเอาใจใส่จากครูและการให้คำแนะนำด้านการเรียนของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.53 . S.D. = 0.58)
สรุป มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์
ข้อเสนอแนะจากการประเมินโครงการ
1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1.1 ให้มีการนำผลการประเมินที่ได้ทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของโครงการ เผยแพร่ต่อที่ประชุมครู นักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองนักเรียน เพื่อให้เกิดการรับรู้ร่วมกัน
1.2 นำผลที่ได้จากการประเมินมาจัดทำเป็นสารสนเทศ เพื่อความสะดวก และความเป็นระบบ ในการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการประเมินครั้งต่อไป
2.1 ควรใช้วิธีการและเครื่องมือในการประเมินอย่างหลากหลาย เพื่อให้ได้ผลการประเมินที่เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครอง จากการประชุมผู้ปกครองระดับชั้นเรียน เป็นต้น
2.2 ควรศึกษาวิจัยและพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน
2.3 ควรทำการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง