ชื่อเรื่องวิจัย : การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564
ชื่อผู้วิจัย : นายนราวุธ รามศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2563-2564
บทคัดย่อ
การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 3) เพื่อศึกษาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563-2564 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODELโรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563-2564 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 2 ปีการศึกษา ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563-มีนาคม 2565 ต่อเนื่องตลอด 2 ปีการศึกษากลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประชากรครู ปีการศึกษา 2563 จำนวน 15 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน ปีการศึกษา2563 จำนวน 121 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 133 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2563จำนวน 121 คน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 133 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน และกลุ่มตัวอย่างเครือข่ายชุมชน
ปีการศึกษา 2563 และปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วยฉบับที่ 1 แบบสอบถามคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.806 ฉบับที่ 2แบบสอบถามระดับการมีส่วนร่วมของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและเครือข่ายชุมชนในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.976
ฉบับที่ 3 แบบสอบถามพฤติกรรมที่สะท้อนถึงคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563-2564ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.880 ฉบับที่ 4 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563-2564 ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.995 ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยเก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2563 ช่วงเดือนมีนาคม 2564 ครั้งที่ 2 หลังการพัฒนาเมื่อสิ้นปีการศึกษา 2564 ช่วงเดือนมีนาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Version 27 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัย พบว่า
1. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทุกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.74, S.D.= 0.56) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครองมีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.79, S.D. = 0.64) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.75, S.D. = 0.57) และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีคุณภาพอยู่ในระดับมากเช่นกัน (X-bar=3.75, S.D= 0.45) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก
(X-bar= 3.70, S.D. = 0.59)
ปีการศึกษา 2564 โดยรวมทุกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.77, S.D.= 0.41) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม
พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.83, S.D.= 0.36) รองลงมา ได้แก่กลุ่มครู มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.81,
S.D.= 0.39) ส่วนกลุ่มนักเรียน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.73, S.D.= 0.44) และกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ( X-bar= 4.73, S.D. = 0.45) สอดคล้องกับสมมติฐาน
2. สรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยรวมผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.77, S.D.=0.59) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามพบว่ากลุ่มครู มีส่วนร่วม
มากที่สุด (X-bar= 3.83, S.D.= 0.53) อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ กลุ่มนักเรียน (X-bar= 3.78, S.D.= 0.61) อยู่ในระดับมาก ส่วนกลุ่มผู้ปกครอง มีส่วนร่วมต่ำสุด
(X-bar= 3.74, S.D.= 0.64) อยู่ในระดับมากเช่นกัน
ปีการศึกษา 2564 โดยรวมผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.80, S.D.= 0.39) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มเครือข่ายชุมชนมีส่วนร่วมมากที่สุด (X-bar= 4.85, S.D.=0.37) อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ กลุ่มผู้ปกครอง (X-bar= 4.83, S.D. = 0.37) อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกลุ่มนักเรียน มีส่วนร่วมต่ำสุด (X-bar= 4.77,S.D.= 0.41) อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน สอดคล้องกับสมมติฐาน
3. สรุปผลการวิเคราะห์คุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563-2564 ตามความคิดเห็นของครูและผู้ปกครอง พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทุกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.79, S.D.= 0.67) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.81, S.D. = 0.74) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากเช่นกัน (X-bar= 3.78,S.D.= 0.61)
ปีการศึกษา 2564 โดยรวมทุกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.82, S.D.= 0.40) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.84, S.D. = 0.40) รองลงมา ได้แก่ กลุ่มครูอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (X-bar= 4.80, S.D. = 0.40) สอดคล้องกับสมมติฐาน
4. สรุปผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชนที่มีต่อการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนโดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา หลังการพัฒนา ปีการศึกษา 2563-2564 พบว่า
ปีการศึกษา 2563 โดยรวมทุกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก (X-bar=3.84, S.D.=0.68) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมาก (X-bar= 3.91, S.D. = 0.73) รองลงมา ได้แก่กลุ่มนักเรียน อยู่ในระดับมาก ( X-bar= 3.88, S.D. = 0.68) ส่วนกลุ่มคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากเช่นกัน (X-bar= 3.77, S.D. = 0.71)
ปีการศึกษา 2564 โดยรวมทุกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.81, S.D.= 0.39) เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า กลุ่มผู้ปกครอง มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.86, S.D. = 0.34) รองลงมาได้แก่ กลุ่มครู อยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.83, S.D. = 0.37) ส่วนกลุ่มเครือข่ายชุมชน มีค่าเฉลี่ย ความพึงพอใจต่ำสุด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน (X-bar= 4.78, S.D. = 0.46) สอดคล้องกับสมมติฐาน
ข้อเสนอแนะ
จากการวิจัย เรื่อง การพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน โดยใช้ DONDANG MODEL โรงเรียนบ้านดอนแดงดอนน้อยวิทยา ปีการศึกษา 2563-2564 ครั้งนี้ทำให้ได้ค้นพบจุดเด่นของการเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนต่อไป
1) ข้อเสนอแนะเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้
(1.1) โรงเรียนควรชี้แจงให้ความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่นักเรียนครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเครือข่ายชุมชน ให้รับทราบ เข้าใจ และตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียน ซึ่งต้องอาศัย การมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ซึ่งต้องเข้าใจอย่างชัดเจนทั้งบทบาทและการใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
(1.2) การดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ทั้ง 7 ด้าน ควรดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอและควรประเมินพฤติกรรมคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนตามพฤติกรรมบ่งชี้ที่โรงเรียนกำหนดอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูการพัฒนาและเสริมแรงสร้างขวัญกำลังใจ ตลอดจนแนวโน้มในความเป็นคนดีให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
(1.3) หลังการพัฒนาควรมีการตรวจสอบพฤติกรรมที่สะท้อนคุณลักษณะความเป็นคนดีอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง เพื่อดูแนวโน้มความยั่งยืนหรือความคงทนถาวรของความเป็นคนดีของนักเรียนและทบทวนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของโรงเรียน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงนโยบายของต้นสังกัดหรือแนวนโยบายแห่งรัฐ
2) ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
(2.1) ควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะความเป็นคนดีกับคุณลักษณะความเป็นคนเก่งของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทั้งความดีและความเก่งอย่างยั่งยืนควบคู่กัน
(2.2) ควรศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีสู่ความยั่งยืน
(2.3) ควรศึกษาผลกระทบเชิงบวกของการพัฒนาคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนที่ปรากฏต่อชุมชนหรือสังคมในเขตบริการการศึกษาของโรงเรียน
(2.4) ควรมีการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นคนดีของนักเรียนในรูปแบบหรือลักษณะอื่น ๆ อย่างหลากหลาย เพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางต่อไป