ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) โรงเรียนชุมชนวัดบางไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
ผู้ประเมิน นางพุทธิยา พื้นพรม รองผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนวัดบางไผ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) โรงเรียนชุมชนวัดบางไผ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2 มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาผู้เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Product Evaluation) (2) เพื่อประเมินเปรียบเทียบระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับ3 ขึ้นไป โดยใช้รูปแบบซิปโมเดล (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ในการประเมินกลุ่มประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 424 คน ประกอบด้วย 1) ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 33 คน นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดบางไผ่ จำนวน 189 คน 2) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดบางไผ่ จำนวน 189 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม (Questionnaire) แบ่งเป็น 2 ตอน ดังนี้ 1) แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลสถานภาพส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบตรวจสอบ (Checklist) สอบถามเกี่ยวกับเพศ อายุ และสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม และ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาผู้เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project Based Learning) เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับตามแบบของลิเคอร์ต (Likert) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินโครงการ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และนักเรียน ที่มีต่อโครงการพัฒนาผู้เรียนวิทยาศาสตร์โดยใช้โครงงานเป็นฐาน(Project Based Learning) โรงเรียนชุมชนวัดบางไผ่ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านบริบทและสภาพแวดล้อม (Context Evaluation)
1. การประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากร
ทางการศึกษา ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมสอดคล้อง อยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมินมีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄ = 4.81, S.D.=0.80)
2. การประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครอง ภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมินมีค่าเฉลี่ยรวม
( x̄ = 4.80, S.D.=0.61)
3. การประเมินด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อม ของนักเรียน ภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม (x̄ = 4.76, S.D.=0.52)
ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation)
1. การประเมินด้านด้านปัจจัยนำเข้า ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการ
ศึกษาภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมินมีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄= 4.81, S.D.=0.80)
2. การประเมินด้านด้านปัจจัยนำเข้า ของคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองภาพรวม
พบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม (x̄ = 4.80, S.D.=0.61)
3. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ของนักเรียน ภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม (x̄ = 4.32, S.D.=0.77)
ด้านกระบวนการ (Process Evaluation)
1. การประเมินด้านด้านกระบวนการ ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄= 4.65, S.D.=0.90)
2. การประเมินด้านด้านกระบวนการ ของคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองภาพรวม พบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄= 4.59, S.D.= 0.72)
3. การประเมินด้านกระบวนการ ของนักเรียน ภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม ( x̄ = 4.80, S.D.=0.76)
ด้านผลผลิต (Product Evaluation)
1. การประเมินด้านด้านผลผลิตกระบวนการ ของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม (x̄ = 4.75, S.D.=1.00)
2. การประเมินด้านด้านผลผลิต ของคณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ปกครองภาพรวมพบว่ามีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมิน มีค่าเฉลี่ยรวม (x̄ = 4.53, S.D.=0.65)
3. การประเมินด้านผลผลิตของนักเรียน ภาพรวมพบว่า มีความเหมาะสม สอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด/ผ่านเกณฑ์การประเมินมีค่าเฉลี่ยรวม (x̄ = 4.52, S.D.=0.60)
ผลการเปรียบเทียบระดับคุณภาพผู้เรียน
การประเมินเปรียบเทียบระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับ3 ขึ้นไปพบว่าการประเมินผลผลิตของโครงการด้านระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับ3 ขึ้นไปเมื่อเปรียบเทียบปีการศึกษา 2563 กับปีการศึกษา 2564 ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น