การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัด โบสถ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี 2) หาแนวทางพัฒนาโครงการ เศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดโบสถ์ สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มจตุรมิตร จํานวน 13 คน ครูผู้สอน จํานวน 38 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 13 คน นักเรียนจํานวน 192 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการ ดําเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียง จํานวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่าและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และแจกแจงความถี่
ผลการวิจัยพบว่า
1. การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดโบสถ์ สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาด้านปัจจัยเบื้องต้น ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ํากว่าด้านอื่น ได้แก่ ด้านกระบวนการ ผลการประเมินรายด้านทุกด้านผ่านเกณฑ์
2. แนวทางพัฒนาการประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนวัดโบสถ์ สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี สรุปได้ว่า
2.1 แนวทางพัฒนาด้านบุคลากรดําเนินงานกิจกรรมในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ครูและบุคลากรควรมีจํานวนเพียงพอต่อการดําเนินงาน ครูและบุคลากรควรมีความพร้อมและมี ศักยภาพในการจัดกิจกรรม และครูและบุคลากรควรมีความรู้และเข้าใจการดําเนินงานตามโครงการ
2.2 แนวทางพัฒนางบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในการดําเนินงานมีความพอเพียง ได้แก่ ประสานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม บริหารงบประมาณหมุนเวียนรายรับ รายจ่าย ให้เกิดความคล่องตัว และควรจัดทํารายละเอียดการใช้ จ่ายงบประมาณตามโครงการอย่างชัดเจน
2.3 แนวทางพัฒนางบประมาณที่ใช้ประหยัด คุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุดตรง ตาม วัตถุประสงค์ของโครงการ ได้แก่ แต่งตั้งคณะกรรมการดูแลการใช้จ่ายงบประมาณ มีการรายงานการใช้ จ่ายงบประมาณเป็นระยะตามความเหมาะสม ประชุม ชี้แจงการดําเนินงานตามโครงการ ทําความเข้าใจ ผู้เกี่ยวข้องและสร้างความตระหนักในการใช้งบประมาณตามโครงการ และมีการตรวจสอบการใช้ งบประมาณอย่างสม่ําเสมอและมีการปรับปรุงแก้ไข หากพบข้อบกพร่อง
2.4 แนวทางพัฒนาระบบการเบิกจ่ายงบประมาณมีความสะดวกต่อการดําเนินงาน โครงการ ได้แก่ ควรให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเบิกจ่ายงบประมาณมีส่วนร่วมเป็นกรรมการ ดําเนินงานตามโครงการ นําเสนอปัญหาและข้อเสนอแนะ การแก้ไข การเบิกจ่ายงบประมาณใช้ หน่วยงานต้นสังกัด และฝ่ายบริหารควรอํานวยความสะดวก และปรับปรุงการเบิกจ่ายงบประมาณตาม อํานาจหน้าที่ของตน
2.5 แนวทางการพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ให้มีความสอดคล้องกับกิจกรรมในโครงการ ได้แก่ ควรมีการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการดําเนินงานที่เพียงพอ ควรเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่มีความ สอดคล้องกับการดําเนินงาน และควรมีวัสดุ อุปกรณ์ที่ทันสมัยสะดวกต่อการใช้งาน
2.6 แนวทางพัฒนาการจัดการดําเนินงานกิจกรรมในโครงการมีความเหมาะสม ได้แก่ ควรมีประชุมเพื่อวางแผนการดําเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ควรมีการวางแผนควบคุม การปฏิบัติงาน และควรมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบ
2.7 แนวทางการพัฒนาบุคลากรในการวางแผนเตรียมกิจกรรมในโครงการ ได้แก่ ควรมีการดําเนินงานจัดกิจกรรมที่ชัดเจน ครูและบุคลากรควรมีการวางแผนร่วมกันก่อนดําเนิน กิจกรรม และควรมีการกําหนดบทบาท ขั้นตอนการดําเนินงานอย่างเหมาะสม
2.8 แนวทางพัฒนากิจกรรมในโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ควรมีการดําเนิน กิจกรรมครบถ้วนตามแผนที่วางไว้ ควรดําเนินกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเป็นระบบ และควรมีการจัดระบบบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนา
2.9 แนวทางพัฒนาการจัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลผลลัพธ์ของโครงการเศรษฐกิจ พอเพียง ได้แก่ จัดทําปฏิทินการดําเนินงานตามโครงการให้ชัดเจน และดําเนินการตามปฏิทินอย่าง เคร่งครัด โดยกําหนดให้มีการประชุมก่อนดําเนินงานตามโครงการทุกครั้ง ฝ่ายบริหารควรเป็นผู้ กําหนดให้มีการประชุม และควรเข้าร่วมประชุมอย่างสม่ำเสมอ
2.10 แนวทางพัฒนาการประเมินผลของโครงการโดยใช้เกณฑ์การประเมินโครงการ ได้แก่ จัดทําปฏิทินการประเมินโครงการและการปฏิบัติตามปฏิทินโดยเคร่งครัด แต่งตั้งคณะกรรมการ การประเมินผลโครงการโดยใช้เกณฑ์การประเมินโครงการ และฝ่ายบริหารให้ความสนใจในการติดตาม ผลการประเมินโครงการ
2.11 แนวทางพัฒนาการจัดทําข้อมูลสารสนเทศ ผลการดําเนินงานของโครงการ ได้แก่ แต่งตั้งผู้รับผิดชอบเพื่อทําข้อมูลสารสนเทศผลการดําเนินงานโครงการ กําหนดระยะเวลาการ จัดทําข้อมูลสารสนเทศให้ชัดเจน และควรนําข้อมูลสารสนเทศผลการดําเนินงานโครงการมาใช้ปรับปรุง การดําเนินงานโครงการ เพื่อให้ข้อมูลสารสนเทศมีประโยชน์อย่างแท้จริง
2.12 แนวทางการพัฒนาการปรับปรุงกิจกรรมการดําเนินงานของโครงการ ได้แก่ ควรมีการปรับปรุงการจัดกิจกรรมและแก้ไขข้อบกพร่อง ควรมีการดําเนินงานให้บรรลุตาม วัตถุประสงค์ และควรมีการปรับปรุงและพัฒนาโครงการให้มีประสิทธิภาพ