ชื่อผลงาน การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้าง
คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565
ผู้รายงาน นายพิชัย บุญชูประภา
หน่วยงาน โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สงขลา สตูล
ปีงบประมาณ 2565
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มีวัตถุประสงค์การประเมิน โดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeams CIPP Model) เป็นกรอบแนวคิดในการประเมิน 4 ด้านคือ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินกระบวนการ(Process Evaluation)และ4) เพื่อประเมินผลผลิต(Product Evaluation) ซึ่งจำแนกเป็น 4.1)ระดับคุณภาพการพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อม4.2)ระดับคุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม 4.3) คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนและ4.4)ความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) นักเรียน จำนวน 310 คน 2) ครู จำนวน 70 คน 3) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 310 คน และ4) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ 1) แบบสอบถามการประเมินสภาพแวดล้อม จำนวน 1 ฉบับ 2) แบบสอบถามการประเมินปัจจัยนำเข้า จำนวน 1 ฉบับ 3) แบบสอบถามการประเมินกระบวนการ จำนวน 1 ฉบับและ 4) แบบสอบถามประเมินผลผลิต ซึ่งจำแนกเป็น 4.1)แแบบสอบถามประเมินผลผลิต คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม จำนวน 1 ฉบับ 4.2) แบบสอบถามประเมินผลผลิต คุณภาพของบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ จำนวน 1 ฉบับ 4.3) แบบสอบถามประเมินผลผลิต คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ และ4.4) แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการประเมินโครงการพบว่า การประเมินโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1) ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ โดยภาพรวม พบว่า ทั้งสองกลุ่มที่ประเมิน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.50, S.D.= .24 และ x̄ = 4.59, S.D.= .22) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
2) ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.76, S.D.=.36) ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
3) ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ภาพรวม พบว่า ปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4) ผลการประเมินด้านผลผลิต ดังนี้
4.1) ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.2) ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณภาพของบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.3) ผลการประเมินด้านผลผลิต คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยภาพรวม พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด
4.4) ผลการประเมินด้านผลผลิต ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี ๒ สงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 โดยภาพรวม พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งภาพรวม และทุกประเด็นตัวชี้วัด