บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP MODEL) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการครั้งนี้ จำนวน 74 คน จำแนกเป็นครูผู้สอนชั้นป.1-ป.6 จำนวน 2 คน นักเรียนชั้น ป.1-ป.6 จำนวน 36 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 29 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 1 ชุด เกณฑ์การประเมิน ที่กำหนดขึ้นผ่านความเห็นชอบและหาคุณภาพของเครื่องมือจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการประเมินพบว่า
1. การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน บุญสูงอุปถัมภ์อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ผลการประเมินโดยรวมและรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ผลการประเมินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับแรก คือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ
2. การประเมินด้านบริบท ผลการประเมินโครงการด้านบริบท (Context evaluation) โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ผลการประเมินโครงการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดและมาก โดยเรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 2 อันดับแรก คือ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง, และรองลงมาซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากันคือ เป็นโครงการที่สอดคล้องกับกลยุทธ์ จุดเน้นของโรงเรียน, เป็นโครงการที่กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย กิจกรรม ผลผลิต และผลลัพธ์ได้สอดคล้องกัน, วัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการส่งผลให้เกิดการปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์แก่ผู้เรียน, โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสร้างคุณลักษณะที่ดีด้านความพอเพียงให้แก่นักเรียนโรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์ และกิจกรรมและการดำเนินงานของโครงการมีความชัดเจนและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ
3. การประเมินปัจจัยนำเข้า(Input evaluation) โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 2 อันดับแรก ซึ่งอันดับแรกพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน คือ โรงเรียนมีการประสานความร่วมมือกับชุมชน และหน่วยงานอื่น เพื่อให้การดำเนินงานตามโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์, โรงเรียนจัดแหล่งศึกษา ค้นคว้า และสื่อการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาจากชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ, และรองลงมาครูและนักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ
4. การประเมินกระบวนการ (Process evaluation) ) โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 2 อันดับแรก พบว่า ครู และนักเรียนปฏิบัติงานตามโครงการ และกิจกรรมที่กำหนดด้วยความรับผิดชอบ และรองลงมาซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากันคือ กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ และผู้ปกครอง ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการ
5. การประเมินผลผลิต (Product evaluation) โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบุญสูงอุปถัมภ์ อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน เรียงลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 2 อันดับแรก พบว่า กิจกรรมตามโครงการสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และรองลงมาซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากันคือ ครูดูแลเอาใจใส่นักเรียนอย่างทั่วถึง, ความร่วมมือของผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการการสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ และผลการดำเนินกิจกรรมทำให้นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในครอบครัวของตนเองได้
6. การประเมินผลผลิต ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจของนักเรียนหลังการดำเนินโครงการผลการประเมินพบว่า การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน ชั้น ป.1-ป.6 มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.28 และ 14.39 ตามลำดับและเมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนสอบหลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05