เรื่องที่ประเมิน รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำแก่น
ปีการศึกษา 2564
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
ผู้รายงาน นางสุวรรณา โลหกิจ รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านลำแก่น
ปีที่รายงาน ๒๕๖๔
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำแก่น ปีการศึกษา 2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ใน ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ประเมินบริบท เกี่ยวกับความเหมาะสมและความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ๒) ประเมินปัจจัยนำเข้า เกี่ยวกับความเหมาะสมของงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ บุคลากรและวิธีการดำเนินการตามโครงการที่กำหนดไว้ ๓) ประเมินกระบวนการ เกี่ยวกับความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินงานตามโครงการที่ปฏิบัติจริง ๔) ประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับความสอดคล้อง ของผลการดำเนินการกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของโครงการ
รูปแบบของการประเมินโครงการใช้รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) ซึ่งเป็นการประเมิน ๔ ด้าน คือ ด้านบริบท (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านผลผลิต (Product) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคคลที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำแก่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๕๘๐ คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียนจำนวน ๑ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๓ คน ครูผู้สอน จำนวน ๒๒ คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน ๒๗๒ คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของโรงเรียนบ้านลำแก่น ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๒๗๒ คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน ๓๖๐ คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน ๑ คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๑๓ คน ครูผู้สอน จำนวน ๒๒ คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ของโรงเรียนบ้านลำแก่น ปีการศึกษา ๒๕๖๔ จำนวน ๑๖๒ คน โดยสุ่มจากจำนวนประชากรด้วยวิธีสุ่มอย่างง่ายเทียบจากตารางการกำหนดค่าของ Krejcie and Morgan และผู้ปกครองนักเรียนจำนวน ๑๖๒ คน จากการสุ่มแบบเจาะจงผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ ของลิเคิร์ท ซึ่งผู้รายงานได้จัดสร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจพิจารณาหาความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างและเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน ๔ ฉบับ รวมทั้งหมดจำนวน ๕๐ ข้อ ประกอบด้วยฉบับที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการประเมินด้านบริบทของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .๗๓ ฉบับที่ ๒ ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .๙๑ ฉบับที่ ๓ ด้านกระบวนการของโครงการมีค่า ความเชื่อมั่นเท่ากับ .๘๒ และฉบับที่ ๔ ด้านผลผลิตของโครงการมีค่าความเชื่อมั่นรายด้านเท่ากับ .๙o
การจัดเก็บข้อมูล ผู้รายงานดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยกำหนดระยะเวลาในการจัดเก็บ โดยแจกแบบสอบถามจำนวน ๓๖๐ ฉบับ แบบสอบถามที่ได้รับคืนมาจำนวน ๓๖๐ ฉบับ ซึ่งมี ความสมบูรณ์ทั้ง ๓๖๐ ฉบับ คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าเฉลี่ย () ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน () เปรียบเทียบกับเกณฑ์เฉลี่ย
ผลการศึกษา พบว่า
จากการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำแก่น ปีการศึกษา ๒๕๖๔ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ในภาพรวม ผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ดังนี้
๑. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำแก่น ปีการศึกษา ๒๕๖๔ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๔๙ ,  = ๐.๑๓)
๒. ผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนโรงเรียนบ้านลำแก่น ปีการศึกษา ๒๕๖๔ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา โดยพิจารณาเป็นรายด้าน ดังนี้
๒.๑ ด้านบริบท ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๗ , = ๐.๑๘)
๒.๒ ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = ๔.๕๘ , = ๐.๑๔)
๒.๓ ด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน และผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๓๘ ,  = ๐.๒๒)
๒.๔ ด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของผู้อำนวยการโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = ๔.๔๓ ,  = ๐.๑๗)