บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่างครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบท ปัจจัย
นำเข้า กระบวนการผลผลิต ผลกระทบ ประสิทธิผล ความยั่งยืน และการถ่ายทอดส่งต่อการ
ดำเนินงานโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผู้ประเมินได้ใช้
วิธีการประเมินตามแนวคิดรูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ของ Stufflebeam and
Shenfield นำมาใช้ในการประเมิน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ผู้ปกครอง ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง รวมทั้งสิ้น 158 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α-Coefficient)
ของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.97 ผู้ประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน
ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา
1. การประเมินบริบทของโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มาก และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มาก และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
3. การประเมินกระบวนการของโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ
มาก และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
4. การประเมินด้านผลผลิตของโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active
Learning) ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง ผลการประเมินปรากฏ ดังนี้
4.1 การประเมินด้านผลผลิตของโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่
ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
4.2 การประเมินผลการดำเนินงานประเมินผลการศึกษากระบวนการจัดการเรียนรู้
หลังจากได้รับการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching and Mentoring) ตามโครงการ
นิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้าน
หัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
4.3 การประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการนิเทศแบบชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง (Coaching
and Mentoring) ตามโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และ
ผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
4.4 การประเมินด้านผลกระทบ ตามโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่
ในระดับมากที่สุด และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
4.5 การประเมินด้านประสิทธิผลของโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่
ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
4.6 การประเมินด้านความยั่งยืนของโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
(Active Learning) ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่
ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
4.7 การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อการดำเนินงาน
ของโครงการนิเทศเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ปีการศึกษา 2564
ของโรงเรียนบ้านหัวหมากล่าง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และผ่านเกณฑ์ทุกข้อ