ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model)
ผู้ศึกษา นายวงศ์วัฒน์ พรอนุวงศ์
ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านคอลอมุดอ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านคอลอมุดอ อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,716 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 57 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านคอลอมุดอ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 821 คน ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านคอลอมุดอ จำนวน 821 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ จำนวน 612 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 3 คน ครูผู้สอน จำนวน 57 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 14 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง นักเรียนโรงเรียนบ้านคอลอมุดอ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 269 และผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนบ้านคอลอมุดอ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 269 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejecie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 10 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ และแบบสังเกต จำนวน 1 ฉบับ รวม จำนวน 13 ฉบับ สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบสังเกตโดยใช้สูตรของครอนบาร์ค
ผลการประเมิน โดยสรุปมี ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.3 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า การติดตามโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีกระบวนการวิธีการและเครื่องมือที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสามารถตรวจสอบได้ พบว่า หลังจากการดำเนินโครงการแล้ว โรงเรียนมีระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยมีกระบวนการวิธีการและเครื่องมือที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสามารถตรวจสอบได้ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.2 นักเรียนเป็นคนดีมีความสุข มีความสามารถทางสติปัญญาเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรมและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนเป็นคนดีมีความสุข มีความสามารถทางสติปัญญาเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรมและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.3 การส่งเสริมครู ผู้ปกครอง ให้มีศักยภาพในการร่วมกันดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ส่งเสริมครู ผู้ปกครอง ให้มีศักยภาพในการร่วมกันดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.4 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ความพึงพอใจของนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.5 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ความพึงพอใจของผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.6 ระดับความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
ข้อเสนอแนะ
1. จากผลการประเมิน พบว่า ประเด็นการส่งเสริมครู ผู้ปกครอง ให้มีศักยภาพใน การร่วมกันดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบผ่านเกณฑ์การประเมินค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ปกครองต้องทำงาน ออกจากบ้านตอนเช้าและกลับเข้าบ้านในตอนเย็น ทำให้ไม่มีเวลาในการให้ความเอาใจใส่ หรือสานต่อจากโรงเรียนเท่าที่ควร จึงควรชี้แจงให้ผู้ปกครองได้เข้าใจ และให้ความเอาใจใส่บุตรหลานในปกครองให้มากยิ่งขึ้น จึงจะสามารถส่งเสริมให้นักเรียนเป็นคนดีมีความสุข มีความสามารถทางสติปัญญาเพียบพร้อมด้วยคุณธรรมจริยธรรมและดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
2. จากผลการประเมิน พบว่า ประเด็นปัจจัยนำเข้าของโครงการ ตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของบุคลากร ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี จึงควรมีการชี้แจงสร้างความตระหนักให้ครูผู้รับผิดชอบให้สามารถจัดกิจกรรมระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ได้อย่างเหมาะสมและหลากหลาย สร้าง ความตระหนัก และให้บุคลากรทุกคนเห็นความสำคัญของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน รวมทั้งหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ