ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล
ผู้ประเมิน นายนินาท ศริพันธุ์
รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล ปีการศึกษา 2564 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล และ 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้าราชการครู โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล ปีการศึกษา 2564 จำนวน 47 คน ซึ่งใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล ปีการศึกษา 2564 จำนวน 15 คน (ไม่รวมผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่เป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) ซึ่งใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล จำนวน 278 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejecie & Morgan) และ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหมอ พัฒนานุกูล จำนวน 276 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejecie & Morgan) รวมทั้งสิ้น จำนวน 618 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ รวม จำนวน 7 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้สูตรของครอนบาร์ค
ผลการประเมิน โดยสรุปมี ดังนี้
1. การประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานและข้าราชการครู มีความคิดเห็นด้านบริบทในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ระดับความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า โครงการมี ความเหมาะสมสอดคล้องของความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการและความเป็นไปได้ของโครงการ
2. การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและข้าราชการครู มีความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้าในการดำเนินโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความเหมาะสมของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความเหมาะสมของงบประมาณ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเหมาะสมของกิจกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในภาพรวมผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แสดงว่า โครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องของความเหมาะสมของบุคลากรความเหมาะสมของงบประมาณความเหมาะสมของวัสดุอุปกรณ์ และด้านความเหมาะสมของกิจกรรม
3. การประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) พบว่า ข้าราชการครูมีการปฏิบัติด้านกระบวนการในการดำเนินโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ ได้ดำเนินกิจกรรม จำนวน 5 กิจกรรม และร้อยละการติดตามของโครงการ ได้ดำเนินการกิจกรรม จำนวน 10 กิจกรรม สรุปผลในภาพรวมของด้านกระบวนการ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด จะเห็นได้ว่าผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ แสดงว่าด้านกระบวนการของโครงการมีความเหมาะสมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องของร้อยละการดำเนินงานตามโครงการและร้อยละการติดตามของโครงการ
4. การประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) พบว่า กิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วกิจกรรมการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลผ่านเกณฑ์ การประเมิน ในระดับมาก กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วกิจกรรม การคัดกรองนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก กิจกรรมการส่งเสริมนักเรียน หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วกิจกรรมการส่งเสริมนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด กิจกรรม การป้องกันและแก้ไขปัญหา หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหา ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด และกิจกรรมการส่งต่อหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว กิจกรรมการส่งต่อ ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า หลังจาก เข้าร่วมโครงการแล้วความพึงพอใจของนักเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วความพึงพอใจของผู้ปกครอง ผ่านเกณฑ์ การประเมิน ในระดับมากที่สุด ระดับความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด และระดับความพึงพอใจของครู พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วความพึงพอใจของครู ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด