บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียน
วัดอ่างทอง(อ่างทองพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
ปีการศึกษา 2564 โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP ของ ดี- แอลสตัฟเฟิลบีมและคณะ (Stufflebeam,D. L. & et al,1971 : 216-265) โดยมีเนื้อหาในแต่ละด้าน คือ การประเมิน ด้านบริบท (Context evaluation)การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน (Process evaluation) และการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product evaluation) ตามโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดอ่างทอง (อ่างทองพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 โดยประชากร ที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินโครงการเรียนรู้ตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดอ่างทอง(อ่างทองพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 รวม 18 คน ประกอบด้วย คณะครูโรงเรียน
วัดอ่างทอง(อ่างทองพิทยาคาร) จำนวน 11 คน และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ยกเว้นผู้แทนครูและผู้บริหารสถานศึกษา) จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 80 คน
คือ นักเรียนโรงเรียนวัดอ่างทอง(อ่างทองพิทยาคาร) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน ปีการศึกษา 2564 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจงเพราะว่าเป็นระดับชั้นที่สามารถอ่านและตอบข้อคำถามได้ และใช้ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดอ่างทอง(อ่างทองพิทยาคาร) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 40 คน ซึ่งเป็นผู้ปกครองของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม
จากการวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินโครงการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดอ่างทอง(อ่างทองพิทยาคาร) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ปีการศึกษา 2564 สามารถสรุปผลการประเมิน อภิปรายผล และข้อเสนอแนะดังนี้
1. ผลการประเมิน ผลการประเมิน ด้านบริบท (Context evaluation) พบว่า
1.1 ผลการประเมิน ด้านบริบท (Context evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ คือ ความสอดคล้องของโครงการกับปัญหาและความจำเป็น อยู่ในระดับมากรองลงมาคือความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายทางการศึกษา อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสอดคล้องของโครงการกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
อยู่ในระดับมาก
1.2 ผลการประเมิน ด้านบริบท (Context evaluation) ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม พบว่า มีความสอดคล้อง อยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยตามลำดับ คือความสอดคล้องของโครงการกับปัญหาและความจำเป็น อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายทางการศึกษา อยู่ในระดับมากส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสอดคล้องของโครงการกับความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ตามความคิดเห็นของครู
ในภาพรวมพบว่า ระดับความเหมาะสม/พอเพียง อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ ความพร้อมของบุคลากร มีความเหมาะสม/พอเพียง อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ความเหมาะสมของรูปแบบการจัดกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และความพอเพียงของทรัพยากร วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ อยู่ในระดับมากส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ความพอเพียงของงบประมาณ อยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการดำเนินงาน(Process evauation) ตามความคิดเห็นของครู พบว่า ระดับปฎิบัติ อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน โดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่ การปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานและรายงานผล อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ การดำเนินกิจกรรม อยู่ในระดับมาก และด้านการวางแผน อยู่ในระดับมาก ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การกำกับนิเทศติดตามประเมินผลกิจกรรม อยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมิน ด้านผลผลิต (Product evaluation) พบว่า
4.1 ผลการดำเนินงาน (Product evaluation) ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวม พบว่า มีระดับความสำเร็จอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการดำเนินงาน (Product evaluation) ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่า มีความสำเร็จอยู่ในระดับมากและ ผลการดำเนินงาน (Product evaluation) ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตามความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวม พบว่า มีความสำเร็จอยู่ในระดับมาก
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของคณะครู ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจ ตามความคิดเห็นของคณะกรรมสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียน ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมากและผลการประเมินความพึงพอใจตามความคิดเห็นของนักเรียน ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก