ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
ผู้ศึกษา นายยอดยิ่ง ทองรอด
ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ
กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1
ปีการศึกษา 2563
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ปีการศึกษา 2563 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ รวมทั้งทราบปัญหาเพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง พัฒนาการดำเนินงานของโครงการโรงเรียนวิถีพุทธ โดยใช้รูปแบบซิปป์ (CIPP Model) ประเมินด้านบริบท (Context Evaluation) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,903 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 72 คน และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 1,831 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 400 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 72 คน โดยวิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 328 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากประชากรตามตารางเครจซีและมอร์แกน (Krejecie & Morgan) เครื่องมือที่ใช้ จำนวน 6 ฉบับ ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้สูตรของครอนบาร์ค
ผลการประเมิน โดยสรุปมี ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1 ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด ( = 4.74, S.D. = 0.52)
1.2 ระดับความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D. = 0.53)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.50)
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.48, S.D. = 0.68)
2.3 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.62)
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า มีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ร้อยละของการติดตามโครงการ พบว่า การติดตามโครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 6 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1 ด้านกายภาพ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.67)
4.2 ด้านกิจกรรมพื้นฐานชีวิต พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.43, S.D. = 0.64)
4.3 ด้านการเรียนการสอน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
( = 4.54, S.D. = 0.56)
4.4 ด้านบรรยากาศและปฏิสัมพันธ์ พบว่า ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.67)
4.5 ด้านการบริหารจัดการ พบว่า ในระดับมากที่สุด ( = 4.72, S.D. = 0.47)
4.6 ระดับความพึงพอใจของผู้บริหาร และครูผู้สอน หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว พบว่าความพึงพอใจของผู้บริหาร และครูผู้สอน ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก ( = 4.49, S.D. = 0.63)