ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษา
ที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท
ผู้ศึกษา นางนริศรา ฉลองรัตน์
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านวังหัวเรือ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ การบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท 2) สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท และ 3) ประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ซึ่งได้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ศึกษาเอกสาร งานวิจัย และวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2) สัมภาษณ์ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน และ 3) จัดสนทนากลุ่มของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ซึ่งได้ดำเนินการ ดังนี้ 1) ยกร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท 2) ตรวจสอบร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท โดยจัดประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และ 3) ทดลองใช้ร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 37 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติพื้นฐานหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท ซึ่งดำเนินการโดยสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 37 คน ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย
1. การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท พบว่า การบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ ประกอบด้วย 9 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 นวัตกรรมใหม่ องค์ประกอบที่ 2 การยึดหลักคุณธรรมจริยธรรมและความโปร่งใส องค์ประกอบที่ 3 การมีปณิธานร่วมกัน องค์ประกอบที่ 4 การบูรณาการ องค์ประกอบที่ 5 หลักการพอเพียง องค์ประกอบที่ 6 วิถีลูกเสือ องค์ประกอบที่ 7 การวัดและประเมินผล องค์ประกอบที่ 8 ผูกพันประดุจญาติ และองค์ประกอบที่ 9 กิจกรรมหลังการปฏิบัติงาน
2. การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท เรียกว่า NARISSA Model ภาพรวม พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และส่งผลสู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ดังต่อไปนี้
2.1 ความสามารถในการปรับตัว อยู่ในระดับมากที่สุด
2.2 การบรรลุเป้าหมายในสถานการณ์พลิกผัน อยู่ในระดับมากที่สุด
2.3 คุณภาพของผู้เรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
2.4 ความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสีย อยู่ในระดับมากที่สุด
3. การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท พบว่า มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติของการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ ของโรงเรียนบ้านวังหัวเรือ อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท อยู่ในระดับมากที่สุด