ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ
(Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ
ผู้รายงาน นายนัยณัฏฐ์ ศรีชัย
ปีที่ประเมิน 2562
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ ครั้งนี้ ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ ประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการ และประเมินด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ ปีการศึกษา 2562 ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 3 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 43 คนและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 43 คน รวมจำนวน 96 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งครอบคลุมประเด็น การประเมินทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยโปรแกรมสำเร็จรูปและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการประเมินพบว่า
ประเด็นการประเมินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ โดยรวมทุกประเด็น ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ
(Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ พบว่า ครูผู้สอนโรงเรียนบ้านไร่เจริญ มีความต้องการให้มีการดำเนินการพัฒนาโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ พบว่า ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านไร่เจริญ มีความคิดเห็นว่า ปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โดยรวม
มีความเหมาะสมและเพียงพอมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ พบว่า ครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และนักเรียนโรงเรียนบ้านไร่เจริญ มีความคิดเห็นว่า การดำเนินงานตามแผนหรือวัตถุประสงค์ของโครงการและการปฏิบัติกิจกรรมของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ โดยรวมมีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ เกี่ยวกับทักษะการปฏิบัติของนักเรียนและครูผู้สอนจากการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ พบว่า
4.1 ทักษะการปฏิบัติของนักเรียนและครูผู้สอน โดยรวมมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูผู้สอน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครองนักเรียนต่อโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 รางวัลที่นักเรียน ครูผู้สอน ผู้บริหารสถานศึกษา และสถานศึกษาได้รับจากการดำเนินโครงการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) โรงเรียนบ้านไร่เจริญ ในปีการศึกษา 2562 ได้รับรางวัล จำนวน 16 รายการ เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดคือไม่น้อยกว่า 5 รายการ