บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานผลการประเมินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน ของนักเรียนโรงเรียนวัดช่างเหล็ก (พิบูลเกียรติ) ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินบริบทของโครงการตามตัวชี้วัดความต้องการจำเป็น และความเป็นไปได้ของโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการตามตัวชี้วัดระดับความเหมาะสมของบุคลากรระดับความเหมาะสมของงบประมาณ และระดับความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการตามตัวชี้วัดความต้องการจำเป็น และความเป็นไปได้ของโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน เพื่อประเมินกระบวนการดำเนินโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน ของนักเรียนโรงเรียนวัดช่างเหล็ก (พิบูลเกียรติ) ตามตัวชี้วัดร้อยละของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และระดับความเหมาะสมในการประสานและการแก้ปัญหา เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการตามตัวชี้วัดเกี่ยวกับความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน ของนักเรียนโรงเรียนวัดช่างเหล็ก (พิบูลเกียรติ) รวมทั้งความพึงพอใจของนักเรียน ผู้ปกครอง ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยมีวิธีการประเมิน 2 ลักษณะคือ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้รายงานได้สร้างขึ้นและการประเมินโดยใช้แบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพระดับสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร/ครู ปีการศึกษา 2564 จำนวน 14 คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 7 คน กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง ปีการศึกษา 2564 จำนวน 73 คนและกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วย แบบสอบถาม จำนวน 5 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 2 ฉบับ แบบสังเกต จำนวน 3 ฉบับ รวม จำนวน 12 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติอ้างอิงใช้ t-Test แบบไม่อิสระ สถิติที่ใช้หาค่าความตรงของเครื่องมือใช้สูตร IOC ใช้แอลฟา หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามและแบบทดสอบโดยใช้สูตรของ ครอนบาร์ค และใช้ r หาค่าความเชื่อมั่นตามสูตร KR-20 เพื่อหาค่าความยากง่ายและค่าอำนาจจำแนกของแบบทดสอบ
ผลการประเมิน
ผลการประเมินโครงการในครั้งนี้ สรุปผลตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน และนำเสนอผลของส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปเพื่อให้เห็นความเป็นมา ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า มีเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด
ดังนี้
1.1 ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
1.2 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่ามีตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด
ดังนี้
2.1 ระดับความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2 ระดับความเหมาะสมของงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
2.3 ระดับความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
3. ผลการประเมิน ด้านกระบวนการ พบว่า มีเกณฑ์ตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1 ร้อยละของกิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมากที่สุด
3.2 ระดับความเหมาะสมของขั้นตอนการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินใน
ระดับมากที่สุด
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต
4.1 ร้อยละของนักเรียนมีวินัย พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมีวินัย เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000 (t=21.58 ; P < .000) ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
4.2 ร้อยละของนักเรียนใฝ่เรียนรู้ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนใฝ่เรียนรู้ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000 (t=23.18 ; P < .000) ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
4.3 ร้อยละของนักเรียนมุ่งมั่นในการทำงาน พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วนักเรียนมุ่งมั่นในการทำงาน เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.000 (t=22.95 ; P < .000) ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 ระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับปานกลาง
4.6 ระดับความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก
4.7 ระดับความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินและอยู่ในระดับมากที่สุดผล
การประเมินโครงการ พบว่า ผลการดำเนินการโครงการส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ และมุ่งมั่นในการทำงาน ของนักเรียนโรงเรียนวัดช่างเหล็ก (พิบูลเกียรติ) ผ่านการประเมินโครงการอยู่ในระดับมาก ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ โดยประเด็นที่ผ่านมากที่สุดมี 1 ประเด็น คือประเด็นด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก 3 ประเด็นคือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านผลผลิต