ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
ชื่อผู้วิจัย นายผดุงเกียรติ ปานแดง
กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์
บทคัดย่อ
ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อ 1) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชันมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในเรื่องนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนสามเงาวิทยาคม อำเภอสามเงา จังหวัดตาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาตาก จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 1 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลจากการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว รายวิชาคณิตศาสตร์ ค23101 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 120 คน ผ่านเกณฑ์การประเมิน จำนวน 86 คน คิดเป็นร้อยละ 71.66 ซึ่งเป็นไปตามผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวังคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป
2. ผลจากการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว รายวิชาคณิตศาสตร์ ค23101 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 120 คน มีคะแนนเฉลี่ย 14.13 ซึ่งเป็นไปตามผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวังคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ขึ้นไป
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.37 , SD = 0.74) ซึ่งเป็นไปตามผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู และบรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากขึ้นไป เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด คือช่วยเพิ่มความรู้ด้านการคำนวณ การแก้โจทย์ปัญหา ( = 4.57, SD = 0.62) รองลงมาคือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ ( = 4.53 , SD = 0.62) และผู้เรียนสามารถกลับไปศึกษาเนื้อหา อีกครั้งเมื่อไม่เข้าใจ ( = 4.5, SD = 0.62) ตามลำดับ