ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินผลโครงการพัฒนากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
"ของดีเมืองโคราช"สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
ผู้ประเมิน วันทิตา ทะลาสี
การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทโครงการพัฒนากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
"ของดีเมืองโคราช"สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา
2) ประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น"ของดีเมืองโคราช"สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 3) ประเมินกระบวนการโครงการพัฒนากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น"ของดีเมืองโคราช"สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา 4) ประเมินผลผลิตโครงการพัฒนากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น"ของดีเมืองโคราช"สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 แห่ง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 50 คน ครูที่รับผิดชอบหัวหน้างานหลักสูตรของโรงเรียน จำนวน 50 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 50 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย จำนวน 368 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย จำนวน 1,160 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,533 คน กลุ่มตัวอย่างใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 50 แห่ง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา
จำนวน 50 คน ครูที่รับผิดชอบหัวหน้างานหลักสูตรของโรงเรียน จำนวน 50 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 50 คน รวมทั้งสิ้น 150 คน กลุ่มที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการ ได้แก่ ครูที่รับผิดชอบหัวหน้างานหลักสูตรของโรงเรียน จำนวน 50 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 50 คน ผู้ปกครอง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 184 คน นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 184 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 184 คน ผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 184 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 736 คน โดยโรงเรียนขนาดใหญ่ (นักเรียนตั้งแต่ 1,500 - 2,499 คน)ขนาดใหญ่พิเศษ (นักเรียนตั้งแต่ 2,500 คน ขึ้นไป) จะกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองและนักเรียน กลุ่มละ 5 คน ส่วนโรงเรียนขนาดเล็ก (นักเรียนตั้งแต่ 1 - 499 คน) ขนาดกลาง (นักเรียนตั้งแต่ 500 - 1,449 คน) จะกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองและนักเรียน กลุ่มละ 3 คน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า หลักการและเหตุผลของโครงการพัฒนากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น"ของดีเมืองโคราช"สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ/ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน /สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.76) รองลงมาได้แก่ วัตถุประสงค์ เป้าหมายและกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องกันหลักการและเหตุผลของโครงการสอดคล้องกับนโยบายของ ( =4.64) และการวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการในการดำเนินงานตามโครงการ( =4.63) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช"สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จากตาราง 6 ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.47) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ครูผู้สอน มีความรู้ ทักษะ และความถนัดในรายวิชาท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช"ที่เปิดสอน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.63) รองลงมา ได้แก่ ผู้ปกครองและชุมชนส่งเสริม สนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช"ในโรงเรียน ( =4.62) และวิทยากรภายนอกมีความรู้ ทักษะ และความถนัดในรายวิชาท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช"ที่เปิดสอน ( =4.60) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า โรงเรียนจัดทำโครงสร้างรายวิชาสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช"ของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.78) รองลงมาได้แก่ ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช"โดยเน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ( =4.74) และโรงเรียนเปิดโอกาสให้ครูทุกคนมีส่วนร่วมในการนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช"สู่การปฏิบัติ ( =4.72) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการสามารถสรุปผลการประเมินเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 4.1 ผลการนำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น"ของดีเมืองโคราช" สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา พบว่า สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ทั้ง 50 แห่งมีรูปแบบการนำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
"ของดีเมืองโคราช" สู่การปฏิบัติสามารถจำแนกได้ 4 รูปแบบ คือ 1) สอดแทรกในรายวิชาพื้นฐาน
ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 50 แห่ง 2) จัดทำเป็นรายวิชาเพิ่มเติม จำนวน 36 แห่ง 3)จัดในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 12 แห่ง และ 4)จัดในรูปแบบของการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม จำนวน 3 แห่ง
4.2 ผลงานและรางวัลที่เกิดจากการนำกรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช"
สู่การปฎิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ส่งผลให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมามีกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช" ที่ชัดเจน สอดคล้อง เหมาะสม อันเป็นกรอบแนวทาง และเกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ที่สอดคล้องและสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นตนเอง และทุกโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมามีหลักสูตรท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช" ที่สอดคล้องกับความต้องการและเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นของตนเอง และเป็นไปตามกรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น"ของดีเมืองโคราช" สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา มีสถานศึกษา ผู้บริหาร ครูที่มีผลงานในการบริหารจัดการนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช" สู่การปฎิบัติในสถานศึกษาที่ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติจากผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาในคราวประชุมกรมการจังหวัดนครราชสีมาและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนครราชสีมา ครั้งที่ 8 / 2565 ในวันอังคารที่ 30 สิงหาคม 2565 ณ ห้องประชุม A305 ชั้น 3 อาคาร อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (นครราชสีมา) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้แก่สถานศึกษาที่ได้รับโล่รางวัลวัลดีเยี่ยม อันดับที่ 1 3 จำนวน 3 แห่ง ผู้บริหาร ครูที่ได้รับเกียรติบัตรรางวัลวัลดีเยี่ยม อันดับที่ 1 3 จำนวน 12 ราย สถานศึกษาที่ได้รับเกียรติบัตรรางวัลดีเด่น อันดับที่ 1 2 จำนวน 2 แห่ง ผู้บริหาร ครูที่ได้รับเกียรติบัตรรางวัลดีเด่น อันดับที่ 1 2 จำนวน 8 ราย และรองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ที่มีส่วนในการส่งเสริม สนับสนุนให้การบริหารจัดการนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช" สู่การปฎิบัติในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมจำนวน 4 ราย รวมทั้งสิ้นจำนวน 24 ราย และมีโรงเรียนที่มีการบริหารจัดการนำสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช" ในสถานศึกษา (Best Practice) ได้รับรางวัลจากเขตพื้นที่การศึกษา
จำนวน 25 แห่ง
4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อโครงการพัฒนากรอบสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น
"ของดีเมืองโคราช"สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา พบว่า เมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.46) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากการเรียนด้านสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช"ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.61) รองลงมาได้แก่ นักเรียนได้รับประโยชน์จากการเรียนสาระการเรียนรู้ท้องถิ่น "ของดีเมืองโคราช" ( =4.58) และนักเรียนมีความรัก ความผูกพัน มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน( =4.55) ตามลำดับ