ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
ชื่อผู้ประเมิน นางเนตรนภาพร ฤกษ์อุไร
ปีที่ดำเนินการ 2564
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม 2) ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า 3) ประเมินด้านกระบวนการ และ 4) ประเมินด้านผลผลิตของโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ดำเนินการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ก่อนการดำเนินโครงการ ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม และด้านปัจจัยนำเข้า กลุ่มเป้าหมายเป็นครู จำนวน 18 คน ระยะที่ 2 ระหว่างการดำเนินโครงการ ประเมินด้านกระบวนการ กลุ่มเป้าหมายเป็นครู จำนวน 18 คน ระยะที่ 3 หลังการดำเนินโครงการ ประเมินด้านผลผลิต กลุ่มเป้าหมายเป็นครู จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 161 คน ผู้ปกครอง จำนวน 161 คน รวมทั้งสิ้น 340 คน ทำการประเมินโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ ซิปป์ โมเดล (CIPP model) ของสตัฟเฟิลบีม เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามการประเมินโครงการ ประเด็นด้านบริบท ประเด็นด้านปัจจัยนำเข้า ประเด็นด้านกระบวนการ ประเด็นด้านผลผลิต ความพึงพอใจของครู ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ความเป็นไปได้ของโครงการ และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับ คือ ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านงบประมาณ ด้านอาคารสถานที่ และด้านวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือ การวางแผนดำเนินโครงการ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินผล และด้านการจัดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ตามลำดับ
4. การประเมินประเด็นด้านผลผลิตของ สรุปได้ดังนี้
4.1 ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดวังไทร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ ความรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง ความมีคุณธรรม และผลลัพธ์ของโครงการ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
4.2 การวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการการประเมินโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดวังไทรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 พบว่า ครู นักเรียน และผู้ปกครอง มีความพึงพอใจที่มีต่อโครงการการประเมินโครงการศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนวัดวังไทรสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด