ชื่อเรื่อง รายงานการประเมินการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนหนองแฝกหนองหว้าวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
ผู้ศึกษา นายวาทิตย์ คำสิงห์
สังกัด โรงเรียนหนองแฝกหนองหว้าวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาฬสินธุ์เขต 2
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการประเมินเพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองแฝกหนองหว้าวิทยาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยใช้รูปแบบการประเมินผลโครงการแบบซิป (CIPP Model) ตามแนวคิดของ สตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ซึ่งมุ่งประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมก่อนดำเนินโครงการ ด้านปัจจัยเบื้องต้นของความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากร ด้านกระบวนการดำเนินโครงการและด้านผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 81 คน ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน บุคลากรและนักเรียน โดยใช้สูตรของ ยามาเน่ (Yamane) และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยผู้ศึกษาได้จัดลำดับการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ย ( x̄ )ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน (S.D.) และร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินสภาพแวดล้อมของโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองแฝกหนองหว้าวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้าที่ใช้ในการดำเนินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองแฝกหนองหว้าวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการประเมินกระบวนการในการดำเนินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองแฝกหนองหว้าวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินผลผลิตการดำเนินโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนหนองแฝกหนองหว้าวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ผลการประเมินความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนปีการศึกษา 2564 พบว่ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ร้อยละ 95.0 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด และผลการประเมินการนำแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันโดยรวมอยู่ในระดับมาก