บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนคุระบุรี มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น (Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ (Process Evaluation) 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต (Product Evaluation) โดยใช้หลักการประเมิน ตามรูปแบบซิป (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน จำนวน 729 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครู จำนวน 42 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 344 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 328 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา มีจำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ฉบับที่ 2 แบบประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้น ฉบับที่ 3 แบบประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เกี่ยวกับกระบวนการดำเนินงาน ฉบับที่ 4 แบบประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เกี่ยวกับผลผลิตของโครงการ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามความคิดเห็น ที่มีต่อพฤติกรรมของนักเรียน 8 ด้าน ได้แก่ ความซื่อสัตย์ สุจริต ความมีวินัย ความพอเพียง ความมีเหตุผล ความรับผิดชอบ ความขยันหมั่นเพียร ความมีจิตสาธารณะ และความกตัญญูกตเวที ตอนที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ผลการประเมินเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า วัตถุประสงค์ของโครงการย่อยทุกโครงการมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.41, S.D. = 0.37)
2. ผลการประเมินเกี่ยวกับปัจจัยเบื้องต้นของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.38, S.D. = 0.52) เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ กิจกรรมห้องเรียนคุณธรรม (x̄ = 4.40, S.D. = 0.53) กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ( x̄= 4.38, S.D. = 0.53) กิจกรรมเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม (x̄ = 4.38, S.D. = 0.51) และกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมประจำวันศุกร์ ( x̄= 4.35, S.D.= 0.52) ตามลำดับ
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.40, S.D. = 0.52) และเมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า ทั้ง 4 กิจกรรมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ดังนี้ กิจกรรมเข้าค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรม (x̄ = 4.42, S.D. = 0.53) กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมประจำวันศุกร์ (x̄= 4.40, S.D. = 0.52) กิจกรรมห้องเรียนคุณธรรม ( x̄= 4.40, S.D. = 0.52) และ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ( x̄= 4.38, S.D.= 0.51) ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา พบว่า
4.1 พฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน 8 ด้าน พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ( x̄= 4.60,S.D = 0.16) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ
4.1.1 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมด้านความกตัญญูกตเวที ( x̄= 4.87, S.D. = 0.15)
4.1.2 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมด้านความมีจิตสาธารณะ ( x̄= 4.66, S.D. = 0.39)
4.1.3 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริต ( x̄= 4.58, S.D. = 0.42)
4.1.4 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมด้านความพอเพียง ( x̄= 4.54 S.D. = 0.42)
4.1.5 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมด้านความขยันหมั่นเพียร ( x̄= 4.54, S.D. = 0.43)
4.1.6 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมด้านความมีเหตุผล ( x̄= 4.54, S.D. = 0.43)
4.1.7 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมด้านความรับผิดชอบ ( x̄= 4.53 S.D. = 0.43)
4.1.8 นักเรียนมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมด้านความมีวินัย (x̄ = 4.53, S.D. = 0.42)
4.2 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี ประกอบด้วย
4.2.1 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.71, S.D. = 0.59)
4.2.2 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ของครู จำนวน 42 คน ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.65, S.D. = 0.27)
4.2.3 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.65, S.D. = 0.33)
4.2.4 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 344 คน ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.75, S.D. = 0.28)
4.2.5 ความพึงพอใจที่มีต่อโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา ของผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 6 จำนวน 328 คน ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.77, S.D. = 0.29)
ข้อเสนอแนะ
1. กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนคุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียนควรนำจุดเด่นหรือความสำเร็จของการดำเนินงานไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการและรักษามาตรฐานการปฏิบัติของโครงการไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสังคมและประเทศชาติต่อไป
2. ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ควรสนับสนุนให้ครู ผู้ปกครองและชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการเสริมสร้างและพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมให้เกิดขึ้นในครอบครัว ชุมชน และสังคม เพื่อให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมและมีกระบวนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่ต่อเนื่องและอยู่ในวิถีชีวิตของเด็กและเยาวชนทุกคน
3. รายงานผลการปฏิบัติตามโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียน
คุระบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพังงา สามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารโรงเรียนนำไปประยุกต์ใช้กับการรายงานผลการปฏิบัติงานตามโครงการที่มีลักษณะคล้ายกัน