ชื่อรายงาน การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
ร่วมกับ DLTV สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวคลอง
ผู้รายงาน นางสาวนาราทิพย์ ขวัญอ่อน
ตำแหน่ง ครู ชำนาญการ โรงเรียนบ้านหัวคลอง
ปีการศึกษา 2565
บทคัดย่อ
การรายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับ DLTV กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับ DLTV สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวคลอง ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับ DLTV สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวคลอง 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 5E ร่วมกับ DLTV สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวคลอง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการดำเนินงานในครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านหัวคลอง อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แผนการจัดการเรียนรู้การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติการหาประสิทธิภาพ
ผลการทดลองพบว่า 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร
ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 83.59 / 80.42 ซึ่งสูงกว่าที่กำหนดไว้ คือ ไม่ต่ำกว่า 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนหลังจากเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้ชุดกิจกรรม
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง สารอาหารกับระบบย่อยอาหาร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
นาราทิพย์ ขวัญอ่อน