ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 6
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
ชื่อผู้ประเมิน : นายสัญญา คงแก้ว
ตำแหน่ง : รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการ
ปีที่ประเมิน : ปีการศึกษา 2564
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเโรงเรียนราชประชานุคราะห์ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยใช้รูปแบบซิปป์เ(CIPPเModel)ประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้าเด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบทเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเ2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สื่อและวัสดุอุปกรณ์ และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินกระบวนการเกี่ยวกับการเตรียมการและวางแผนดำเนินงานเการดำเนินงานตามแผน การนิเทศกำกับติดตาม การประเมินผลการดำเนินงาน การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ 4) เพื่อประเมินผลผลิต เกี่ยวกับผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการเได้แก่เนักเรียนเครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนราชประชานุคราะห์ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ในปีการศึกษา 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 978 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Random Sampling) จำนวน 102 คน ประกอบด้วยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน (สุ่มอย่างง่ายชั้นละ 5 คน) ครูผู้สอน จำนวน 27 คน (เลือกจากครูผู้ทำหน้าที่จัดการเรียนการสอน) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน (เลือกจากผู้ปกครองที่นักเรียนถูกเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (ไม่นับรวมตัวแทนครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับเจำนวน 5 ฉบับเได้แก่เแบบสอบถามฉบับที่ 1 ประเมินด้านบริบท จำนวน 45 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 แบบสอบถามฉบับที่ 2 ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า (ประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ) จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 แบบสอบถามฉบับที่เ3 ประเมินด้านกระบวนการ (ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ) จำนวน 40 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 แบบสอบถามฉบับที่เ4เประเมินด้านผลผลิตจากการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเ(ประเมินหลังเสร็จสิ้นโครงการ) จำนวน 70 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 แบบสอบถามฉบับที่เ5เประเมินความความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณ โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows 16.0 ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
สรุปผลการประเมินโครงการ
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดเเมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ความเป็นไปได้ของโครงการมีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ ความต้องการจำเป็นของโครงการ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา และการได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 4 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคลากรของสถานศึกษา ด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และด้านงบประมาณ ตามลำดับ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า การเตรียมการและวางแผนดำเนินงาน มีความเหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินงานตามแผน การรายงานผลและประชาสัมพันธ์ การประเมินผลการดำเนินงาน และการนิเทศกำกับติดตามผล ตามลำดับ
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการพบว่า
4.1 ด้านผลการดำเนินงานโครงการทั้ง 8 ตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยพบว่า ด้านการรับรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านสุขภาพจิต ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านความรู้และทักษะ และด้านทักษะชีวิต ตามลำดับ
4.2 ด้านความพึงพอใจของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่มีต่อการดำเนินงานโครงการพบว่า โดยรวมผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดและอยู่ในระดับมากที่สุดทุกตัวชี้วัด เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละตัวชี้วัดพบว่านักเรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือตรงกับสภาพปัญหาและความต้องการ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนเข้าใจตนเองและผู้อื่นสามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข นักเรียนมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นในทุกด้าน ตามลำดับ
ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่า โครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนราชประชานุคราะห์ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 อยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นจึงควรให้มีการดำเนินงานตามโครงการนี้ต่อไป ทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเเพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ