ชื่อเรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้รายงาน นางสาวปรียาวดี ฉิมมา
ตำแหน่ง ครูชำนาญการ โรงเรียนวัดหัวเขาสมอคร้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การพัฒนาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อของประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนวัดหัวเขาสมอคร้า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ ค่า t (t-test dependent)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ 85.65/84.63 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในภาพรวมพบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (x̄ ) เท่ากับ 4.47 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.50