บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนา
ทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์)
ผู้วิจัย : นายทวงศ์ บุญทองสังข์
วิทยฐานะ ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์)
ปีการศึกษา : 2564
การวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อ 11) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) 3) เพื่อทดลองใช้และ ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) โดยมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) โดยครูผู้สอนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) จำนวน 12 คน และตัวแทนกรรมการสถานศึกษา จำนวน 2 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) โดยครูผู้สอนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) จำนวน 12 คน และขั้นตอนที่ 4 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) โดยครูผู้สอนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) พบว่า สภาพปัจจุบันชุมชน แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพปัจจุบันการจัดกิจกรรมการเรียนเพื่อการสอนพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และความต้องการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) พบว่าผลการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) ซึ่งประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ โครงสร้างสาระสำคัญ การดำเนินงานของรูปแบบ การวัดและประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จของการนำรูปแบบไปใช้ การตรวจสอบรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) ของผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า ความถูกต้องภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความเป็นไปได้ ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) พบว่าความถูกต้องของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) พบว่าก่อนการดำเนินการผลการประเมินทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการดำเนินการผลการประเมินทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์ในการนำไปปฏิบัติ ของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนโรงเรียนวัดพระพรหม (ช้อยราษฎร์อุปถัมภ์) พบว่าภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด